การศึกษาวิเคราะห์และปริมาณความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย
#1
การศึกษาวิเคราะห์และปริมาณความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย
อลงกต โพธิ์ดี, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, วรัญญา มาลี และวาสนา ฤทธ์ไธสง
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

          ประเทศไทยมีการนำเข้าผลองุ่นสดปริมาณปีละ 26,924 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,463 ล้านบาท จากการศึกษารวบรวมข้อมูลศัตรูพืชในเบื้องต้นปรากฏว่า มีศัตรูพืชขององุ่นรวมทั้งสิ้นจำนวน 373 ชนิด และมีศัตรูพืชร้ายแรงหลายชนิดที่ยังไม่มีรายงานในประเทศไทย ซึ่งศัตรูพืชเหล่านี้มีโอกาสที่จะติดเข้ามากับผลองุ่นสดนำเข้าได้ ผลการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ยังไม่พบในประเทศไทย และมีโอกาสติดเข้ามากับผลองุ่นสดที่นำเข้าจากประเทสออสเตรเลีย มีจำนวน 42 ชนิด ได้แก่ แมลง 19 ชนิด (Pantomorus cervinus, Phlyctinus callosus, Carpophilus humeralis, Dilochrosis artripennis, Bactrocera tryoni, Ceratitis capitata, Trialeurodes vaporariorum, Macrosiphum euphorbiae, Coccus persicae, Parthenolecanium corni, Aspidiotus nerii, Daktulosphaira vitifoliae, Pseudococcus viburniAmetastegia glabrata, Cydia molesta, Epiphyas postvittana, Haplothrips froggatti, Haplothrips victoriensis, Thrips australis) ไร 10 ชนิด (Calepitrimerus vitis, Colomerus vitis, Brevepalpus lewesi, Brevipalpus obovatus, Bryobia praetiosa, Bryobia rubrioculus, Panonychus ulmi, Petrobia latens, Tetranychus desertorum, Tetranychus ludeni) ไวรัส 4 ชนิด (Arabis mosaic virus, Grapevine fanleaf virus, Grapevine leafroll-associated viruses, grapevine virus A) แบคทีเรีย 1 ชนิด (Pseudomonas viridiflava) และรา 8 ชนิด (Aspergillus aculeatus, Bipolaris bicolour, Botryosphaeria obtusa, Coniella diplodiella, Gonatobotrys simplex var. simplex, Phaeoacremonium aleophilum, Phaeomoniella chlamydospora, Rhizopus arrhizus) โดยมีศัตรูพืชกักกันที่มีความเสี่ยงสูงที่ต้องมีมาตรการจัดการความเสี่ยงก่อนการส่งออกคือ แมลงวันผลไม้ 2 ชนิด ได้แก่ Mediterranean fruit fly; Ceratitis capitata และ Queensland fruit fly; Bactrocera tryoni ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งคือ ผลองุ่นสดต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ หรือหากผลองุ่นสดมาจากแปลงปลูกซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องกำจัดแมลงวันผลไม้ในองุ่นสดด้วยวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นก่อนการส่งออกหรือระหว่างการขนส่ง นอกจากนี้ศัตรูพืชกักกันอื่นควรมีมาตรการจัดการที่เหมาะสมในประเทศผู้ส่งออกเพื่อลดความเสี่ยงศัตรูพืชที่อาจเกิดขึ้น


ไฟล์แนบ
.pdf   1660_2553.pdf (ขนาด: 74.96 KB / ดาวน์โหลด: 443)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม