12-22-2015, 03:06 PM
ปฏิกิริยาของสายต้นมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติกที่คัดเลือกต่อโรคใบไหม้
สุรชาติ คูอาริยะกุล, วิวัฒน์ ภานุอำไพ, ศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล, รัชนี ขันธหัตถ์ และสนอง จรินทร
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
สุรชาติ คูอาริยะกุล, วิวัฒน์ ภานุอำไพ, ศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล, รัชนี ขันธหัตถ์ และสนอง จรินทร
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
โรคใบไหม้ (Phytophthora infestans) นับเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดต่อมันฝรั่ง (Solanum tuberosum) ที่ปลูกในประเทศไทย การศึกษาปฏิกิริยาของสายต้นมันฝรั่งพันธุ์ Atlantic ต่อโรคใบไหม้จำนวน 14 สายต้นที่คัดเลือกจากการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติเปรียบเทียบกับมันฝรั่งพันธุ์ Atlantic ในสภาพแปลงปลูก ในปี 2551-2552 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ใช้สายต้นมันฝรั่งพันธุ์ Atlantic จำนวน 10 สายต้น (At-1 - At-10) ส่วนในปี 2552 - 2553 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ ใช้สายต้นมันฝรั่งจำนวน 8 สายต้น (At-2, At-3, At-7, At-9, At-11, At-12, At-15 และ At-16) และ 10 สายต้น (At-1 - At-10) ตามลำดับ การวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ โดยการปลูกเชื้อด้วยเชื้อรา P.infestans ที่ความเข้มข้น 1.35-2.30 x 10(4) sporangia/มิลลิลิตร การประเมินการลุกลามและพัฒนาของโรคด้วยสายตา เพื่อคำนวณค่าสัมพันธ์พื้นที่ใต้เส้นของการพัฒนาการของโรค (Relative area under the disease progress curve, RAUDPC) พบว่า ในปี 2551 - 2552 และปี 2552 - 2553 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย มันฝรั่งสายต้นพันธุ์ Atlantic จำนวน 10 และ 8 สายต้นดังกล่าว มีการลุกลามและพัฒนาของโรคใบไหม้ในแต่ละปีน้อยกว่าอยู่ในระดับเดียวกัน ค่า RAUDPC เฉลี่ย 0.0266-0.0397 และ 0.0142-0.0259 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัยทางสถิติกับมันฝรั่งชุดควบคุมพันธุ์ Atlantic ที่มีค่าเฉลี่ย 0.5588 และ 0.05646 ตามลำดับ และในปี 2552 - 2553 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ มันฝรั่งสายต้นพันธุ์ Atlantic จำนวน 10 สายต้นดังกล่าว มีการลุกลามและพัฒนาของโรคใบไหม้น้อยกว่าอยู่ในระดับเดียวกัน ค่า RAUDPC เฉลี่ย 0.0651-0.0880 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับมันฝรั่งชุดควบคุมพันธุ์ Atlantic มีค่าเฉลี่ย 0.5746 การเปรียบเทียบน้ำหนักผลผลิตในปี 2551 - 2552 และปี 2552 - 2553 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย พบว่ามันฝรั่งสายต้นพันธุ์ Atlantic จำนวน 10 และ 8 สายต้นดังกล่าว ตามลำดับ ให้ผลผลิตสูงกว่ามันฝรั่งชุดควบคุมพันธุ์ Atlantic ยกเว้นสายต้น At-2, At-4, At-9 และ At-10 ในปี 2551-2552 และสายต้น At-7 ในปี 2552-2553 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับมันฝรั่งชุดควบคุมพันธุ์ Atlantic และในปี 2552-2553 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ พบมันฝรั่งทุกสายต้นพันธุ์ Atlantic ให้ผลผลิตสูงกว่า การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมในระดับดีเอ็นเอของสายต้นมันฝรั่งพันธุ์ Atlantic จำนวน 16 สายต้น (At-1 - At-16) โดยวิธี Intersimple sequence repeat (ISSR) Touchdown PCR โดยใช้ไพร์เมอร์จำนวน 24 ชนิด สามารถจัดกลุ่มสายต้นมันฝรั่งพันธุ์ Atlantic ดังกล่าวเป็น 2 กลุ่ม และมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมตั้งแต่ 74-100%