การศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สารธรรมชาติ
#1
การศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สารธรรมชาติ
รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา, อิสริยะ สืบพันธุ์ดี และธิติยาภรณ์ ประยูรมหิศร
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
        
          การเฝ้าระวังคุณภาพของผลิตภัณฑ์สารธรรมชาติให้ได้มาตรฐาน โดยตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สารธรรมชาติที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2552-2553 จำนวน 214 ตัวอย่าง โดยสำรวจและสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสารธรรมชาติที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เป็นตัวอย่างจากภาคเหนือ 51 ตัวอย่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 55 ตัวอย่าง ภาคตะวันออก 12 ตัวอย่าง ภาคกลาง 77 ตัวอย่าง และภาคใต้ 19 ตัวอย่าง  เป็นสารสกัดจากพืชชนิดเดียว 82 ตัวอย่าง (38.32% ของตัวอย่างทั้งหมด) ได้แก่ สะเดา 68 ตัวอย่าง หางไหล 4 ตัวอย่าง หนอนตายหยาก 3 ตัวอย่าง กากชา 3 ตัวอย่าง ใบยาสูบ 1 ตัวอย่าง ตะไคร้หอมบด 1 ตัวอย่าง ขมิ้นชัน 1 ตัวอย่าง และเปลือกมังคุด 1 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างพืชสมุนไพรหลายชนิดผสมกันในหนึ่งผลิตภัณฑ์ 132 ตัวอย่าง (61.68% ของตัวอย่างทั้งหมด) ผลิตภัณฑ์สารสกัดสะเดาไม่มีตัวอย่างใดที่มีปริมาณแอซาดิแรคติน (azadirachtin) ตามที่ระบุในฉลาก ปริมาณแอซาดิแรคติน ในผลิตภัณฑ์สารสกัดที่มีสะเดาเป็นส่วนประกอบพบว่าอยู่ระหว่าง 0-0.05% w/v ตรวจไม่พบสารโรติโนน (rotenone) ในผลิตภัณฑ์สารสกัดจากหางไหล ตรวจพบสารซาโปนิน (saponin) ในกากชามีปริมาณเฉลี่ย 13.15% w/w ไม่พบสารออกฤทธิ์ ซิโทรเนลลัล (citronellal) ซิโทรเนลลอล (citronellol) และเจอรานิออล (geraniol) ในตัวอย่างตะไคร้หอมบด


ไฟล์แนบ
.pdf   1920_2553.pdf (ขนาด: 484.67 KB / ดาวน์โหลด: 958)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม