12-01-2015, 10:51 AM
การผลิตผักไร้ดินเพื่อสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียน ตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนราธิวาส
โนรี อิสมะแอ, เอมอร เพชรทอง, โสพล ทองรักทอง, ชนินทร์ ศิริขันตยกุล, ศรินณา ชูธรรมธัช, อุดร เจริญแสง, บรรเทา จันทร์พุ่ม และสุรเดช ปัจฉิมกุล
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
โนรี อิสมะแอ, เอมอร เพชรทอง, โสพล ทองรักทอง, ชนินทร์ ศิริขันตยกุล, ศรินณา ชูธรรมธัช, อุดร เจริญแสง, บรรเทา จันทร์พุ่ม และสุรเดช ปัจฉิมกุล
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
การผลิตผักไร้ดินเพื่อสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนราธิวาส วัตถุประสงค์เพื่อผลิตพืชผักให้เพียงพอ สำหรับนำมาใช้ประกอบอาหารเลี้ยงเด็กนักเรียนได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้การผลิตพืชผักไร้ดินให้กับเด็กนักเรียน ระยะเวลาการดำเนินการ ปี ๒๕๕๐-๒๕๕๕ มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้ ๑. คัดเลือกโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายเข้าร่วมโครงการตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คือ โรงเรียนที่มีพื้นที่การเกษตรน้อย สภาพพื้นที่หรือดินมีปัญหา ๒. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักไร้ดินแก่ครู อาจารย์และนักเรียนที่ได้รับคัดเลือก และให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตและแปลงปลูกพืชผักไร้ดิน (โรงเรือน) ขนาดแปลง ๗.๒ x ๒ เมตร พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ๓. ดำเนินการควบคุมการปลูกผัก และให้คำแนะนาในการปลูกผักไร้ดิน การวางแผนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการเก็บข้อมูลผลผลิต ๔. สรุปผลการดำเนินงาน ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้ ได้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน ๕ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดพระพุทธ โรงเรียนบ้านไอโซร์ โรงเรียนพิทักษ์วิทยากุมุง โรงเรียนจรรยาอิสลามวิทยา และโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านไอร์บือแต สรุปผลการผลิตผักไร้ดินของแต่ละโรงเรียนพบว่า โรงเรียนวัดพระพุทธสามารถผลิตผัก ๔ ชนิด คือ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักบุ้ง เพื่อให้นักเรียนบริโภคได้ ๗,๐๕๐ กิโลกรัม/ปี คิดเป็นมูลค่า ๒๑๑,๗๐๐ บาท/ปี และยังมีผักเหลือจำหน่าย ๕๐๐ กิโลกรัม/ปี ทำให้มีรายได้เพิ่ม ๑๔,๔๕๐ บาท/ปี โรงเรียนบ้านไอโซร์สามารถผลิตผัก ๓ ชนิด คือ คะน้า กวางตุ้ง และผักบุ้ง ผลผลิตรวม ๖๖๐ กิโลกรัม/ปี ใช้บริโภค ๒๙๐ กิโลกรัม/ปี มูลค่า ๙,๔๐๐บาท/ปี เหลือจำหน่าย ๓๗๐ กิโลกรัม/ปี มีได้รายเสริม ๑๑,๔๕๐ บาท/ปี โรงเรียนพิทักษ์วิทยากุมุ้งผลิตผัก ๓ ชนิด คือ คะน้า กวางตุ้ง และผักบุ้ง ผลผลิตรวมจำนวน ๖๑๕ กิโลกรัม/ปี นำไปบริโภค ๒๑๕ กิโลกรัม/ปี มูลค่า ๗,๐๐๐ บาท/ปี ที่เหลือจำหน่าย ได้รายเสริม ๑๓,๔๗๕ บาท/ปี โรงเรียนจรรยาอิสลามวิทยาสามารถผลิตผัก ๓ ชนิด คือ คะน้า กวางตุ้ง และผักบุ้ง ผลผลิตรวม ๖๔๐ กิโลกรัม/ปี นำไปบริโภคจำนวน ๒๗๐ กิโลกรัม/ปี มูลค่า ๘,๒๕๐ บาท/ปี และเหลือจำหน่าย ๓๗๐ กิโลกรัม/ปี มูลค่า ๙,๙๕๐ บาท/ปี และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านไอร์บือแต สามารถผลิตผัก ๓ ชนิด คือ คะน้า กวางตุ้ง และผักบุ้ง ได้ผลผลิตรวม ๖๒๐ กิโลกรัม/ปี นำไปบริโภคจำนวน ๒๙๐ กิโลกรัม/ปี มูลค่า ๘,๖๕๐ บาท/ปี และมีเหลือจำหน่าย ๓๓๐ กิโลกรัม/ปี มูลค่า ๘,๘๕๐ บาท/ปี
สรุปภาพรวมในการผลิตผักไร้ดินเพื่อเป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนใน ๕ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถผลิตผักรวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๐,๐๘๕ กิโลกรัม/ปี มูลค่า ๓๐๓,๑๗๕ บาท/ปี ซึ่งโรงเรียนนำไปเพื่อบริโภครวม ๘,๑๑๕ กิโลกรัม/ปี มูลค่า ๒๔๕,๐๐๐ บาท/ปี และส่วนที่เหลือจากบริโภคนาไปจำหน่าย ผลผลิตรวม ๑,๙๗๐ กิโลกรัม/ปี มูลค่า ๕๘,๑๗๕ บาท/ปี ซึ่งบางโรงเรียนได้นำไปเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียน และนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
การนำไปใช้ประโยชน์ทำให้โรงเรียนมีผลผลิตพืชผัก สำหรับนำมาใช้ประกอบอาหารเลี้ยงเด็กนักเรียนได้ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี นักเรียนและครู อาจารย์ได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ ทำให้สุขภาพดีและแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน นอกจากนี้มีการขยายผลโดยการถ่ายทอดให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการผลิต และการปฏิบัติดูแลรักษาการปลูกผักไร้ดินแก่ครู อาจารย์และเด็กนักเรียนของโรงเรียนอื่นๆ ในจังหวัดนราธิวาส เท่ากับเพิ่มจำนวนโรงเรียนและนักเรียนที่จะมีผักไว้บริโภคเป็นอาหารกลางวันมากยิ่งขึ้นต่อไป