11-30-2015, 03:17 PM
การป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้สกุลม็อคคาราโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และสารเคมี
ทัศนาพร ทัศคร, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, พีระวรรณ พัฒนวิภาส และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทัศนาพร ทัศคร, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, พีระวรรณ พัฒนวิภาส และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ในปี 2554 ได้สำรวจและเก็บตัวอย่างโรคกลีบดอกไหม้จากกล้วยไม้สกุลมอคคาราพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ปลูกจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และสมุทรสาคร ผลการศึกษาและจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้สกุลมอคคาราพันธุ์เหลืองกิตติ, อ้อมใหญ, คาลิปโซ, เหลืองจิตติ, แดงกิตติ, แดงบุญหลง และสมบางขุนเทียนเบื้องต้น พบว่าเชื้อสาเหตุโรคคือ เชื้อแบคทีเรีย Pantoae sp. เมื่อทำการปลูกเชื้อสาเหตุโรคแล้วสามารถทำให้เกิดอาการโรคเช่นเดียวกับในสภาพแปลง และได้ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่า สาร Gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8% WP สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีทุกระดับความเข้มข้น ในปี 2555 ได้ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้ลูกผสมมอคคารา พันธุ์ Pink lady 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี คือ cuprous oxide 50%WP, bacbicure 25%WP และ gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8%WP, thiram 80% WP และ copper hydroxide 77%WP เปรียบเทียบกับกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่าโดยพ่นสารตามกรรมวิธีเมื่อเริ่มพบโรคจำนวน 4 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า สารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ได้ดี คือ สาร cuprous oxide 50%WP รองลงมาได้แก่ สาร gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8%WP, thiram 80% WP และ copper hydroxide 77%WP พบมีเปอร์เซ็นต์ช่อดอกที่เป็นโรคน้อยกว่ากรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า