11-24-2015, 03:01 PM
การผลิตชุดตรวจสอบ Potato virus A สำเร็จรูปโดยเทคนิค Gold labeling IgG flow test
สิทธิศักดิ์ แสไพศาล, ชลธิชา รักใคร่ และปรียพรรณ พงศาทิชณ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช และกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สิทธิศักดิ์ แสไพศาล, ชลธิชา รักใคร่ และปรียพรรณ พงศาทิชณ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช และกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การนำเทคนิค Gold Labeling IgG Flow Test (GLIFT) มาปรับใช้ในการตรวจเชื้อ Potato virus A โดยใช้หลักการทางเซรุ่มวิทยาและ lateral flow technique บนแผ่น nitrocellulose membrane ด้วยการเลือกใช้อนุภาคของทอง (colloidal gold) มาต่อเชื่อมกับ IgG ของเชื้อ PVA ที่ใช้แอนติบอดี จากตัวแทนจำหน่ายของบริษัท โดยปรับให้มีความเข้มข้น 1 mg/ml พบว่า ไม่สามารถทำให้เกิดเกิดปฏิกิริยาสีแดงเข้มได้ แม้จะทำการปรับ gold labeling IgG ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นผลของปฏิกิริยายังไม่ดี ไม่เกิดแถบสีของปฏิกิรยา ส่วนการพ่น IgG ของ Goat anti-rabbit (GAR) โดยใช้ GAR ที่เจือจาง 1:3 ปริมาณ 1 µl/cm เป็นเส้น control line เพื่อเข้าไปทำปฏิกิริยา ผลของปฏิกิริยาชัดเจนดีทำให้เกิดสีแดงเข้มของปฏิกิริยา จากการเปรียบเทียบชนิดของแผ่นไนโตรเซลลูโลสเมมเบรนและชนิดของ sample buffer ต่อปฏิกิริยาบนชุดตรวจสอบที่แตกต่างกัน 7 ชนิด พบว่าปฏิกิริยาเกิดได้ดีบนเส้น control line และไม่เกิดปฏิกิริยาแบบ false positive ส่วนปฏิกิริยาบนเส้น test line ของเชื้อ PVA นั้น พบว่า ไม่เกิดปฏิกิริยาในทุกชนิดของไนโตรเซลลูโลสเมมเบรนและ sample buffer ในทุกชนิด ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการใช้แอนติซีรัม polyclonal antibody ของเชื้อ Potato virus A (PVA) จากบริษัทตัวแทนจำหน่ายที่ผลิตมาเพื่อใช้ในการตรวจด้วยวิธี ELISA ไม่เหมาะในการนำมาทำเป็นชุตรวจสอบ Gold labeling IgG flow test เนื่องจากได้นำแอนติซิรัมดังกล่าวมาทดสอบในการตรวจด้วยวิธี ELISA นั้นสามารถตรวจได้ผลชัดเจน ดังนั้นจึงควรศึกษาและทดลองต่อไปด้วยการผลิตแอนติซีรัมของเชื้อไวรัส Potato virus A ขึ้นเอง แล้วนำแอนติซิรัมที่ผลิตได้มาพัฒนาและทดสอบการผลิตชุดตรวจสอบไวรัส Gold labeling IgG flow test และเป็นการลดการนำเข้าและซื้อแอนติซิรัมจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศที่มีราคาแพง ให้สามารถตรวจเชื้อไวรัส PVA ได้ด้วยวิธี ELISA ได้อย่างมีคุณภาพที่ดีกว่าหรือทัดเทียมกับต่างประเทศ