ศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ที่ผลิตด้วยวิธีต่างๆ
#1
ศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ที่ผลิตด้วยวิธีต่างๆ
สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี, อิศเรส เทียนทัด และภัทรพร สรรพนุเคราะห์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช

         การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ที่ผลิตด้วยวิธีต่างๆ โดยทดสอบการเพาะขยายเชื้อแบคทีเรีย บีที จากการใช้อาหารเหลว (submerged culture) และอาหารแข็ง (solid state fermentation) ด้วยอาหารชนิดต่างๆ ที่หาได้ทั่วไป ผลการทดลองพบว่า การเพาะขยายเชื้อด้วยอาหารแข็ง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ข้าวฟ่าง, ชานอ้อยผสมรำ และข้าวสุก มี Total cell count และ Spore count สูงกว่าการใช้อาหารเหลว โดยการเพาะขยายเชื้อด้วยอาหารแข็ง มี Total cell count และ Spore count เฉลี่ยระหว่าง 8.8 x 10(7) - 2.9 x 10(8) และ 2.4 x 10(7) - 8.4 x 10(7) CFU/ml ตามลำดับ ส่วนการใช้อาหารเหลว ได้แก่ น้ำมะพร้าวผสมไข่ไก่ น้ำมะพร้าว นมข้นหวาน และหางนม มี Total cell count และ Spore count เฉลี่ยระหว่าง 4.5 x 10(6) - 3.2 x 10(7) และ 3.3 x 10(5) - 1.2 x 10(7) CFU/ml ตามลำดับ โดยเชื้อแบคทีเรียบีทีมาตรฐาน มี Total cell count และ Spore count เฉลี่ย 1.8 x 10(10) และ 5.1 x 10(9) CFU/ml เมื่อนำผลผลิตที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพกับหนอนกระทู้ผักวัย 2 ด้วย Feeding method บนอาหารเทียมพบว่า เชื้อแบคทีเรียที่ได้จาการเพาะขยายมีประสิทธิภาพต่ำกว่าเชื้อแบคทีเรียมาตรฐานอย่างชัดเจน มีเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนเฉลี่ยระหว่าง 2.0 - 36.7 เปอร์เซ็นต์ โดยเชื้อแบคทีเรียบีทีมาตรฐาน มีเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนเฉลี่ย 100 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   2373_2555.pdf (ขนาด: 234.41 KB / ดาวน์โหลด: 1,975)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม