พัฒนาการเพาะเลี้ยงด้วงเต่า Cryptolaemus montrouzieri Mulsant เป็นปริมาณมาก
#1
พัฒนาการเพาะเลี้ยงด้วงเต่า Cryptolaemus montrouzieri Mulsant เป็นปริมาณมากเพื่อควบคุมเพลี้ยแป้ง
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เพื่อศึกษาพัฒนาการเพาะเลี้ยงด้วงเต่า Cryptolaemus montrouzierisia virgata (Cockerell), Pseudococcus jackberdsleyi Gimple & Miller, Phenacoccus manihoti Matile - Ferrero, Phenacoccus madeirensis Green, Paracoccus marginatus Williams and Granara de Willink, Dysmicoccus neobrevipes Beardsley และ Phenacoccus solenopsis Tinsley แต่จากการนำเพลี้ยแป้งที่พบมาตรวจสอบตัวอ่อนด้วงเต่า C. montrouzieri ในห้องปฏิบัติการไม่พบด้วงเต่า C. montrouzieri Mulsant เป็นปริมาณมากเพื่อควบคุมเพลี้ยแป้ง ทำการสำรวจ และเก็บรวบรวมด้วงเต่า C. montrouzieri จากแปลงปลูกมันสำปะหลัง จากไม้ผล ได้แก่ ฝรั่ง น้อยหน่า มะละกอ และกล้วย จากวัชพืช หญ้ายาง และตำแยแมว และจากต้นชบา พบเพลี้ยแป้ง 7 ชนิด ได้แก่ Ferrisia virgata (Cockerell), Pseudococcus jackberdsleyi Gimple & Miller, Phenacoccus manihoti Matile - Ferrero, Phenacoccus madeirensis Green, Paracoccus marginatus Williams and Granara de Willink, Dysmicoccus neobrevipes Beardsley และ Phenacoccus solenopsis Tinsley แต่จากการนำเพลี้ยแป้งที่พบมาตรวจสอบตัวอ่อนด้วงเต่า C. montrouzieri ในห้องปฏิบัติการไม่พบด้วงเต่า C. montrouzieri

          ด้วงเต่า C. montrouzieri มีรูปแบบการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ ประกอบด้วยระยะ ไข่ หนอน ก่อนดักแด้ ดักแด้ และตัวเต็มวัย ไข่มีอายุนาน 4-5 วัน ระยะหนอนมี 4-5 วัย (ส่วนใหญ่มี 4 วัย แต่เพียง 3 ตัว ที่มีวัยที่ 5) มีอายุนาน 2-3, 1-4, 1-4, 1-6 และ 4 วัน ตามลำดับ ระยะก่อนดักแด้ 1-3 วัน และระยะดักแด้นาน 5-9 วัน รวมวงจรชีวิตจากไข่จนกระทั่งออกเป็นตัวเต็มวัยนาน 23-27 วัน เฉลี่ย 25.17 วัน มีอายุขัย 14-273 วัน เฉลี่ย 57.56 วัน จากการศึกษาตารางชีวิตของด้วงเต่า C. montrouzieri เบื้องต้นพบว่า มีเปอร์เซ็นต์ตายที่ปรากฏในระยะไข่ หนอนวัยที่ 1-4 ก่อนดักแด้ และดักแด้ เท่ากับ 34.00, 6.06, 1.61, 0, 0, 1.64 และ 1.64% ตามลำดับ โดยมีอัตราการตายมากที่สุดในระยะไข่ และจากการศึกษาการจำแนกเพศของตัวเต็มวัยด้วงเต่า โดยดูจากลักษณะปล้องท้องพบว่า เพศผู้มีลักษณะท้องปล้องที่ 5 โค้งกว้างกว่าตัวเมีย โดยจะทำการศึกษาข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาอื่นๆ อีกต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   2366_2555.pdf (ขนาด: 318.9 KB / ดาวน์โหลด: 2,688)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม