การศึกษาร่วมกันในวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารออกฤทธิ์อะมีทรีน(ametryn)ในอันตรายทางการเกษตร
#1
การศึกษาร่วมกันในวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารออกฤทธิ์อะมีทรีน (ametryn) ในผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตร
พิเชษฐ์ ทองละเอียด, พินิตนันต์ สรวยเอี่ยม, สุกัญญา คำคง, ภัทรฤทัย คมน์ณัฐ, นงพะงา โอลเสน, สุธินี สาสีลัง, สุภาพร บ้งพรม, มณฑาทิพย์ อรุณวรากรณ์, ประไพ หงษา, นิกร โคตรสมบัติ และสาวิตรี เขมวงศ์
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8

          การศึกษาร่วม Collaborative study ในวิธีวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ametryn เป็นการพัฒนาร่วมกันเพื่อศึกษาวิธีการทดสอบที่ดัดแปลงวิธีบางประการจากวิธีมาตรฐาน CIPAC Handbook Vol. H โดยวิธีที่ทำการร่วมศึกษาใช้เทคนิค GC-FID ด้วยแคปปิลารี่คอลัมน์ HP-5 ขั้นตอนการร่วมศึกษาโดยทำการรับสมัครห้องปฏิบัติการทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกันและการคงตัวของผลิตภัณฑ์ จัดส่งตัวอย่างทดสอบและเอกสารให้กับห้องปฏิบัติการซึ่งทำทดสอบขั้นตอนเดิมเป็นเวลา 2 วัน การประเมินผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วม ด้วยการตรวจสอบค่า Outlier โดยใช้สถิติ Cochran’s test, Grubbs’ test และค่า HORRAT ผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการ 16 แห่งที่เข้าร่วมของ ametryn 80 %WP (WP1, WP2), ametryn 80 %WG (WG1, WG2) และ ametryn 50 %W/V SC (SC1, SC2) ผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการ 16 แห่งที่เข้าร่วมทุกห้องปฏิบัติการมีค่า HORRAT อยู่ในช่วง 0.67 - 1.15 ตามเกณฑ์พิจารณาของ AOAC (2016) มีเกณฑ์ยอมรับอยู่ที่ 0.5 - 2.0 ซึ่งแต่ละสูตรความเข้มข้นผ่านเกณฑ์ยอมรับจึงสามารถนำวิธีทดสอบ ametryn ที่ผ่านการร่วมศึกษาใช้เป็นวิธีมาตรฐานการทดสอบของกรมวิชาการเกษตรได้


ไฟล์แนบ
.pdf   23. การศึกษาร่วมกันในวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารออกฤทธิ์อะมีทรีน (ametryn) ในผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตร.pdf (ขนาด: 515.01 KB / ดาวน์โหลด: 222)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม