การประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนของอ้อยในระดับพื้นที่
#1
การประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนของอ้อยในระดับพื้นที่
นุชนาฏ ตันวรรณ, สายน้ำ อุดพ้วย, ปรีชา กาเพ็ชร, วลัยพร ศะศิประภา, อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข และไชยา บุญเลิศ
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์

          สำรวจชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่การผลิตอ้อย จังหวัดนครสวรรค์ และสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดการแปลงเบื้องต้นของเกษตรกรต่อศักยภาพการกักเก็บคาร์บอน ดำเนินการสำรวจในไร่เกษตรกร ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 - กุมภาพันธ์ 2564 โดยวางแผนการสำรวจแบบการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลการจัดการแปลงอ้อย และเก็บตัวอย่างพืชในช่วงที่อ้อยอายุ 10 - 12 เดือน วิเคราะห์มวลชีวภาพ และปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ผลการสำรวจพื้นที่การผลิตอ้อยพบว่า เกษตรกรทั้งสองเขตเลือกปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มากที่สุด รองลงมาเป็นพันธุ์ KPK98-51 CSB13 K200 UT15 UT14 LK92-11 และ KK2 เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่เลือกใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้งต่อฤดูปลูกอ้อย โดยอ้อย 1 ฤดูปลูกมีการสะสมมวลชีวภาพ อยู่ในช่วง 3.30 – 13.28 ตัน/ไร่ ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ในช่วง 2.51 - 7.80 ตัน/ไร่ ทั้งนี้ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของต้นอ้อย ในพื้นที่ 1 ไร่ ในส่วนต่างๆ ของอ้อยจังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด 11.50 ตัน CO2/ไร่ คิดเป็นส่วนของใบสด ใบแห้งกาบใบสด กาบใบแห้ง และลำ เป็น 1.23 0.89 0.30 0.53 และ 8.55 ตัน CO2/ไร่ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีเท่ากับ 7.84 ตัน CO2/ไร่

คำหลัก: การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กักเก็บคาร์บอน อ้อย ระดับพื้นที่


ไฟล์แนบ
.pdf   12. การประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนของอ้อยในระดับพื้นที่.pdf (ขนาด: 584.64 KB / ดาวน์โหลด: 840)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม