09-02-2020, 01:00 PM
“10 ปี...คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระบรมราชานุเคราะห์ ภาคใตต้อนบน”
สุรกิตติ ศรีกุล, สญชัย ขวัญเกื้อ, สุชาดา โภชาดม, จินตนาพร โคตรสมบัติ, นิภาภรณ์ ชูสีนวน, สมคิด ดำน้อย, อัญชลี ม่านทอง, ภาวินี คามวุฒิ, บรรเจิด พูลศิลป์, วิริยา ประจิมพันธุ์, อัจฉรา ทองสวัสดิ์, พุฒตาล สังขชาติ, ชวิศร์ สวัสดิสาร, อุดมพร เสือมาก, โกมินทร์ วิโรจน์วัฒนกุล, ศรีเวียง มีพริ้ง, อรพิน หนูทอง, ก้องกษิต สุวรรณวิหค, จิรภา ออสติน, พงษ์มานิตย์ ไทยแท้ และวิรัตน์ ธรรมบำรุง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระนอง, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพังงา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช
สุรกิตติ ศรีกุล, สญชัย ขวัญเกื้อ, สุชาดา โภชาดม, จินตนาพร โคตรสมบัติ, นิภาภรณ์ ชูสีนวน, สมคิด ดำน้อย, อัญชลี ม่านทอง, ภาวินี คามวุฒิ, บรรเจิด พูลศิลป์, วิริยา ประจิมพันธุ์, อัจฉรา ทองสวัสดิ์, พุฒตาล สังขชาติ, ชวิศร์ สวัสดิสาร, อุดมพร เสือมาก, โกมินทร์ วิโรจน์วัฒนกุล, ศรีเวียง มีพริ้ง, อรพิน หนูทอง, ก้องกษิต สุวรรณวิหค, จิรภา ออสติน, พงษ์มานิตย์ ไทยแท้ และวิรัตน์ ธรรมบำรุง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระนอง, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพังงา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช
การดำเนินงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระบรมราชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในภาคใต้ตอนบน ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2561 (10 ปี) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ตั้งแต่การวิเคราะห์ ระบบนิเวศเกษตรของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน การดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนของการบริการโครงการ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล และการสรุปและกำหนดแนวทางวิจัยและพัฒนา ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะภูมินิเวศเกษตรของภาคใต้ตอนบนเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบและมีเทือกเขาสอง แนวขนานไปกับชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบลอนคลื่น และมีแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลลงสู่ทะเลทั้งสองด้าน ทำให้มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและฝนตกชุกโดยมีฤดูฝน 8 เดือน และฤดูแล้ง 4 เดือน ซึ่งรูปแบบการผลิต พืชในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไม้ผล/ไม้ยืนต้น (ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว กาแฟโรบัสต้า ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง) พื้นที่ปลูกรวม 12.29 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 86.04 ของพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนการดำเนินงานโครงการ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีเกษตรกรเข้ารับบริการคลินิกพืช (แบบคลินิก 02) จำนวนทั้งหมด 12,788 ราย เมื่อจำแนกตามกลุ่มพืช และประเด็นปัญหา พบว่า จำนวนของเกษตรที่เข้ารับบริการมาก ที่สุด ได้แก่ กลุ่มพืชปาล์มน้ำมัน (5,953 ราย) และประเด็นปัญหาโรคและแมลง (6,524 ราย) สำหรับการให้บริการ ติดตามต่อเนื่องของคลินิกพืช (แบบคลินิก 05) ซึ่งเป็นการติดตามให้คำแนะนำถึงแปลงปลูกพืช สามารถดำเนินการ ได้ทั้งหมดจำนวน 1,171 ราย จำนวนของเกษตรที่ได้รับบริการติดตามต่อเนื่อง แยกตามรายกลุ่มพืช และประเด็นปัญหา ได้แก่ กลุ่มพืชปาล์มน้ำมัน (476 ราย) และประเด็นปัญหาโรคและแมลง (770 ราย) นอกจากนี้ได้มีการให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง และจัดทำเป็นแปลงเรียนรู้ต้นแบบในแปลงของเกษตรกร ในจังหวัดภาคใต้ตอนบน จำนวน 17 แปลง เป็นแหล่งเรียนรู้ และสาธิตในการผลิตพืชให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจต่อไป