10-21-2019, 11:13 AM
การทวนสอบแนวทางการจำแนกชนิดตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปมระยะที่สองด้วยวิธีอณูชีววิทยากับไส้เดือนฝอยรากปมในประเทศไทย
ไตรเดช ข่ายทอง, วีรกรณ์ แสงไสย์, ธิติยา สารพัฒน์ และรุ่งนภา ทองเคร็ง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การทวนสอบแนวทางการจำแนกชนิดตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปม เพื่อยืนยันความใช้ได้ของ Molecular Diagnostic Key ที่รายงานโดย Adam et al. (2007) กับประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้จำแนกชนิดของตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปม ลดขั้นตอนและความยุ่งยากในการจำแนกชนิดไส้เดือนฝอยรากปมโดยใช้สัณฐานวิทยา ซึ่งต้องใช้ตัวเต็มวัยในการจำแนก และต้องใช้นักวิชาการด้านไส้เดือนฝอยที่มีความเชี่ยวชาญ ดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2561 โดยเริ่มจากการทดสอบคู่ไพรเมอร์ 194/195 ในการตรวจสอบไส้เดือนฝอยรากปม และคู่ไพรเมอร์จาเพาะต่อไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ได้แก่ MI-F/MI-R, Inc-K14-F/Inc-K14-R, Finc/Rinc และ F/R พบว่าทุกคู่ไพรเมอร์ให้ผลผลิตปฏิกิริยา PCR ตรงตามรายงานต้นฉบับ ยกเว้นคู่ไพรเมอร์ F/R ที่ให้ผลผลิตปฏิกิริยาขนาดเล็กกว่าในรายงานต้นฉบับ และพบว่าคู่ไพรเมอร์ Inc-K14-F/Inc-K14-R เหมาะสมในการใช้ตรวจสอบชนิดไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita มากที่สุดเนื่องจากมีความไวสูงที่สุด ในปี พ.ศ. 2560 ตรวจตัวอย่างไส้เดือนฝอยรากปม 23 ประชากร จากตัวอย่างดิน จ.เพชรบูรณ์ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ตาก จ.ราชบุรี จ.กาญจนบุรี จ.อุตรดิตถ์ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน จ.เชียงราย จ.นครศรีธรรมราช จ.ชุมพร จ.พังงา จ.สกลนคร จ.อุดรธานี จ.หนองคาย พบว่าทุกประชากรเป็นไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita โดยเปรียบเทียบกับลักษณะสัณฐานของริ้วรอยย่นส่วนก้นของตัวเต็มวัยเพศเมียพบว่าให้ผลตรงกัน ในปี พ.ศ. 2561 เก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ปลูกพืชต่างๆ ใน จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ และน่าน รวม 107 ตัวอย่าง ตรวจพบไส้เดือนฝอยรากปม 13 ตัวอย่าง เมื่อเลี้ยงไส้เดือนฝอยรากปมให้ได้ประชากรที่บริสุทธิ์โดยการเริ่มเลี้ยงจากกลุ่มไข่ 1 กลุ่ม และตรวจสอบชนิดของไส้เดือนฝอยรากปมทั้ง 13 ประชากร พบว่าเป็นไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita 11 ตัวอย่างและ [/size]M. javanica[size=medium] 2 ตัวอย่าง การทดลองนี้ยืนยันความใช้ได้ของ Molecular Diagnostic Key ที่รายงานโดย Adam et al. (2007) ในการตรวจสอบไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ประชากรในประเทศไทยได้
ไตรเดช ข่ายทอง, วีรกรณ์ แสงไสย์, ธิติยา สารพัฒน์ และรุ่งนภา ทองเคร็ง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การทวนสอบแนวทางการจำแนกชนิดตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปม เพื่อยืนยันความใช้ได้ของ Molecular Diagnostic Key ที่รายงานโดย Adam et al. (2007) กับประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้จำแนกชนิดของตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปม ลดขั้นตอนและความยุ่งยากในการจำแนกชนิดไส้เดือนฝอยรากปมโดยใช้สัณฐานวิทยา ซึ่งต้องใช้ตัวเต็มวัยในการจำแนก และต้องใช้นักวิชาการด้านไส้เดือนฝอยที่มีความเชี่ยวชาญ ดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2561 โดยเริ่มจากการทดสอบคู่ไพรเมอร์ 194/195 ในการตรวจสอบไส้เดือนฝอยรากปม และคู่ไพรเมอร์จาเพาะต่อไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ได้แก่ MI-F/MI-R, Inc-K14-F/Inc-K14-R, Finc/Rinc และ F/R พบว่าทุกคู่ไพรเมอร์ให้ผลผลิตปฏิกิริยา PCR ตรงตามรายงานต้นฉบับ ยกเว้นคู่ไพรเมอร์ F/R ที่ให้ผลผลิตปฏิกิริยาขนาดเล็กกว่าในรายงานต้นฉบับ และพบว่าคู่ไพรเมอร์ Inc-K14-F/Inc-K14-R เหมาะสมในการใช้ตรวจสอบชนิดไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita มากที่สุดเนื่องจากมีความไวสูงที่สุด ในปี พ.ศ. 2560 ตรวจตัวอย่างไส้เดือนฝอยรากปม 23 ประชากร จากตัวอย่างดิน จ.เพชรบูรณ์ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ตาก จ.ราชบุรี จ.กาญจนบุรี จ.อุตรดิตถ์ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน จ.เชียงราย จ.นครศรีธรรมราช จ.ชุมพร จ.พังงา จ.สกลนคร จ.อุดรธานี จ.หนองคาย พบว่าทุกประชากรเป็นไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita โดยเปรียบเทียบกับลักษณะสัณฐานของริ้วรอยย่นส่วนก้นของตัวเต็มวัยเพศเมียพบว่าให้ผลตรงกัน ในปี พ.ศ. 2561 เก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ปลูกพืชต่างๆ ใน จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ และน่าน รวม 107 ตัวอย่าง ตรวจพบไส้เดือนฝอยรากปม 13 ตัวอย่าง เมื่อเลี้ยงไส้เดือนฝอยรากปมให้ได้ประชากรที่บริสุทธิ์โดยการเริ่มเลี้ยงจากกลุ่มไข่ 1 กลุ่ม และตรวจสอบชนิดของไส้เดือนฝอยรากปมทั้ง 13 ประชากร พบว่าเป็นไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita 11 ตัวอย่างและ [/size]M. javanica[size=medium] 2 ตัวอย่าง การทดลองนี้ยืนยันความใช้ได้ของ Molecular Diagnostic Key ที่รายงานโดย Adam et al. (2007) ในการตรวจสอบไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ประชากรในประเทศไทยได้