05-30-2019, 02:08 PM
พัฒนาคุณภาพการผลิตมังคุดนอกฤดูในจังหวัดนครศรีธรรมราช
อาพร คงอิสโร, วิริยา ประจิมพันธุ์, กิรนันท์ เหมาะประมาณ, อริสา เหลือแก้ว, จิรัฏฐา ขาวปลอด, สุธีรา ถาวรรัตน์ และสุรกิตติ ศรีกุล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7
อาพร คงอิสโร, วิริยา ประจิมพันธุ์, กิรนันท์ เหมาะประมาณ, อริสา เหลือแก้ว, จิรัฏฐา ขาวปลอด, สุธีรา ถาวรรัตน์ และสุรกิตติ ศรีกุล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7
ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการผลิตมังคุดนอกฤดูในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตมังคุดนอกฤดู ทั้งห่วงโซ่อุทำนเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก เนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ปลูกมังคุดมาก และมีลักษณะของภูมิประเทศที่แตกต่าง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่บางส่วนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ อำเภอชะอวด ลานสกา พรหมคีรี เมือง ท่าศาลา สามารถผลิตมังคุดนอกฤดูได้ จากการเก็บข้อมูลปริมาณน้าฝนในพื้นที่ พบว่ามีฝนตกเป็นปริมาณต่าในเดือนมิถุนายน เท่า 111.4 มิลลิเมตร ทำให้มังคุดออกผลผลิตนอกฤดู และจะเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่พื้นที่อื่นไม่มีผลผลิตทำให้มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาด ลักษณะพื้นที่ปลูก มีทั้งการปลูกในพื้นที่ราบ พื้นที่เชิงเขา และภูเขาสูง จากการจัดทำแปลงต้นแบบการพัฒนาคุณภาพมังคุดนอกฤดูในแปลงเกษตรกรในพื้นที่อำเภอชะอวด และอำเภอท่าศาลา จำนวน 5 ราย โดยใช้เทคโนโลยีทั้งกระบวนการผลิตของกรมวิชาการเกษตรเปรียบเทียบกับวีธีของเกษตรกร พบว่าวิธีใช้เทคโนโลยีกรมวิชาการเกษตรมีเปอร์เซ็นต์มังคุดคุณภาพที่สูงกว่าวีธีเกษตรกร เฉลี่ย 79.0 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวิธีของเกษตรกรมีเปอร์เซ็นต์มังคุดคุณภาพ 46.15 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แมลงศัตรูสำคัญ (key pest) ของมังคุด คือ เพลี้ยไฟ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตมังคุดนอกฤดูด้อยคุณภาพ ขายไม่ได้ราคา พบการระบาดมากในช่วงที่มังคุดแตกใบอ่อน ออกดอก และติดผลอ่อน จากการทดสอบวิธีการป้องกันกาจัดเพลี้ยไฟแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เปรียบเทียบกับวิธีการของเกษตรกร พบว่าการจัดการเพลี้ยไฟโดยวิธีการผสมผสานตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลผลิตมังคุดเสียหายน้อยกว่าวิธีการของเกษตรกร ความเสียหายเฉลี่ย 53.95 เปอร์เซ็นต์ และ 98.8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เรื่องการตลาดมีการขายแบบ 3 ลักษณะ คือ ขายให้พ่อค้าคนกลาง, ผ่านกลุ่มเกษตรกร และขายให้โรงคัดบรรจุโดยตรง โดยเกษตรกรที่ขายผ่านกลุ่มจะขายได้ราคาดีที่สุดเนื่องจากกลุ่มจะมีการประมูลขายผลผลิต สำหรับโรงคัดบรรจุ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร (GMP) ปี 2561 มีจำนวน 11 โรง ตั้งอยู่เขต อำเภอเมือง ลานสกา พรหมคีรี ท่าศาลา พระพรหม และนบพิตา ตลาดส่งออกมังคุดจากข้อมูลการส่งออกมังคุดในปี 2560 พบว่ามีการส่งออกมังคุด จำนวน 316,201 ตัน มูลค่า 12,148 ล้านบาท และปี 2561 เพิ่มการส่งออกเป็น 385,820.9 ตัน มูลค่า 17,094.8 ล้านบาท โดยส่งออกสาธรณประชาชนจีนมากที่สุด รองลงมาเวียดนาม, ลาวและเกาหลี นอกจากนี้ยังมีประเทศทางสหภาพยุโรป บ้างแต่มีปริมาณไม่มากนัก ส่วนบริษัทที่จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกมังคุดไปต่างประเทศกับกรมวิชาการเกษตร ส่งไปสาธารณรัฐประชาชนจีน มากที่สุด 66 บริษัท รองลงมาเป็นบริษัทผู้ส่งออกไปสหภาพยุโรป จำนวน 62 บริษัท และบริษัทผู้ส่งออกไปสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 28 สำหรับกระบวนส่งมังคุดไปต่างประเทศผู้ส่งออกจะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้ ผลผลิตต้องมาจากแปลง GAP, ใช้โรงคัดที่ผ่านการรับรอง GMP, ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก, ต้องขอใบรับรองสุขอนามัยพืช (Health certificate ) แล้วจึงส่งออกได้ การส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการขนส่งทางบกมาที่สุดโดย ตามเส้นทาง R9 (ด่านตรวจพืชมุกดาหาร - ด่านผิงเสียง) และผ่านเส้นทาง R3 ด่านตรวจพืชเชียงของ - โม่หาน