05-29-2019, 03:06 PM
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสง
ศรีนวล สุราษฎร์
กิจกรรมที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในสภาพนา
วลีรัตน์ วรกาญจนบุญ จักรพรรดิ์ วุ้นสีแซง โสภิตา สมคิด ประดับศรี เงินมั่น กิตติทัต แสนปลื้ม สุทธิดา บูชารัมย์ สวัสดิ์ สมสะอาด สุชาติ แก้วกมลจิต ไพรัตน์ เทียบแก้ว เบ็ญญาดา จันทร์ดวงศรี เกียรติก้อง พรมศรีธรรม นวลจันทร์ ศรีสมบัติ ศรีนวล สุราษฎร์ พีชณิตดา ธารานุกูล ชูศักดิ์ แขพิมาย พรศุลี อิศรางกูล ณ อยุธยา นาฏญา โสภา สุดารัตน์ โชคแสน กุหลาบทิพย์ ชาหอมชื่น นิพนธ์ ภาชนะวรรณ อนุชา เหลาเคน พักตร์ทิพา เดชพละ อภิชาติ เมืองซอง ประภาส แยบยน บุญธรรม ศรีหล้า
กิจกรรมที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในสภาพไร่
วลีรัตน์ วรกาญจนบุญ, จักรพรรดิ์ วุ้นสีแซง, โสภิตา สมคิด, ประดับศรี เงินมั่น, กิตติทัต แสนปลื้ม, สุทธิดา บูชารัมย์, สวัสดิ์ สมสะอาด, สุชาติ แก้วกมลจิต, ไพรัตน์ เทียบแก้ว, เบ็ญญาดา จันทร์ดวงศรี, เกียรติก้อง พรมศรีธรรม, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, ศรีนวล สุราษฎร์, พีชณิตดา ธารานุกูล, ชูศักดิ์ แขพิมาย, พรศุลี อิศรางกูล ณ อยุธยา, นาฏญา โสภา, สุดารัตน์ โชคแสน และกุหลาบทิพย์ ชาหอมชื่น
ศรีนวล สุราษฎร์
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสง เพื่อแก้ปัญหาการผลิตและยกระดับผลผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ให้มีปริมาณผลผลิตและคุณภาพเพิ่มสูงขึ้น และสร้างระบบการผลิตในพื้นที่ให้มีความยั่งยืน ดำเนินการปี 2559 - 2561 จำนวน 7 จังหวัด เป็นการทดสอบเปรียบเทียบวิธีทดสอบกับวิธีปฏิบัติของเกษตรกร ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในสภาพนา ดาเนินการใน 7 จังหวัด และกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในสภาพไร่ ดาเนินการใน 5 จังหวัด เกษตรกรร่วมทดสอบจังหวัดละ 5 - 10 ราย ผลการทดสอบกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในสภาพนาพบว่า วิธีทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร สามารถยกระดับผลผลิต ทาให้มีรายได้ ผลตอบแทน รวมทั้งสัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) สูงกว่าวิธีเกษตรกรใน 5 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ นครราชสีมา มหาสารคาม และยโสธร ส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง 2 กรรมวิธี ให้ผลไม่แตกต่างกัน เนื่องจากเกษตรกรปฏิบัติดีอยู่แล้ว แต่เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องโรค และแมลงศัตรูพืช ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐควรเข้าไปให้คาแนะนาในเรื่องการจัดการศัตรูพืชดังกล่าว เป็นการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างตรงจุดและถูกต้อง และจังหวัดร้อยเอ็ด วิธีเกษตรกรได้ผลผลิตสูงกว่าวิธีทดสอบ เนื่องจากเกษตรกรมีการฉีดพ่นฮอร์โมน และปุ๋ยเกล็ดเป็นอาหารเสริม จึงทาให้วิธีเกษตรกรได้ผลผลิตสูงกว่า ผลการทดสอบกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในสภาพไร่พบว่า วิธีทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร สามารถยกระดับผลผลิต ทาให้มีรายได้ ผลตอบแทน รวมทั้งค่า BCR สูงกว่าวิธีเกษตรกรใน 4 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ นครราชสีมา และ ร้อยเอ็ด ส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ วิธีทดสอบและวิธีเกษตรกรมีองค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตไม่แตกต่างกัน แต่วิธีทดสอบมีต้นทุนสูงกว่าวิธีเกษตรกร วิธีเกษตรกรจึงได้ผลตอบแทนและมีค่า BCR สูงกว่าวิธีทดสอบ แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรทาดีอยู่แล้ว จากผลการทดสอบ เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต ทาให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีเมล็ดพันธุ์คุณภาพหมุนเวียนใช้ได้เพียงพอตลอดทั้งปี และมีการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงในสภาพนาและสภาพไร่ที่เหมาะสมในพื้นที่ไปยังเกษตรกรพื้นที่ข้างเคียงต่อไป
กิจกรรมที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในสภาพนา
วลีรัตน์ วรกาญจนบุญ จักรพรรดิ์ วุ้นสีแซง โสภิตา สมคิด ประดับศรี เงินมั่น กิตติทัต แสนปลื้ม สุทธิดา บูชารัมย์ สวัสดิ์ สมสะอาด สุชาติ แก้วกมลจิต ไพรัตน์ เทียบแก้ว เบ็ญญาดา จันทร์ดวงศรี เกียรติก้อง พรมศรีธรรม นวลจันทร์ ศรีสมบัติ ศรีนวล สุราษฎร์ พีชณิตดา ธารานุกูล ชูศักดิ์ แขพิมาย พรศุลี อิศรางกูล ณ อยุธยา นาฏญา โสภา สุดารัตน์ โชคแสน กุหลาบทิพย์ ชาหอมชื่น นิพนธ์ ภาชนะวรรณ อนุชา เหลาเคน พักตร์ทิพา เดชพละ อภิชาติ เมืองซอง ประภาส แยบยน บุญธรรม ศรีหล้า
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในสภาพนา เพื่อแก้ปัญหาการผลิต และเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงเฉพาะพื้นที่ ดาเนินการปี 2559 - 2561 จานวน 7 จังหวัด เกษตรกรร่วมทดสอบจังหวัดละ 10 ราย โดยทดสอบเปรียบเทียบวิธีทดสอบกับวิธีปฏิบัติของเกษตรกร ในการทดสอบใช้พันธุ์เดียวกัน แต่ต่างกรรมวิธี ผลการทดสอบพบว่า จังหวัดอุบลราชธานี วิธีทดสอบได้ผลผลิตเฉลี่ย 696 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 501 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถยกระดับผลผลิตได้ คิดเป็นร้อยละ 38.9 ทาให้ได้ผลตอบแทน รวมทั้งสัดส่วนรายได้ต่อค่าใช้จ่ายการลงทุน (BCR) สูงกว่าวิธีเกษตรกร จังหวัดบุรีรัมย์ วิธีทดสอบและวิธีเกษตรกรให้องค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตไม่แตกต่างกัน เนื่องจากเกษตรกรปฏิบัติดีอยู่แล้ว เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีทางด้านพันธุ์ คือ ถั่วลิสง พันธุ์ขอนแก่น 6 การโรยยิบซัมในระยะออกดอกเพื่อป้องกันเมล็ดลีบ การป้องกันโรคโคนเน่าขาดและหนอนชอนใบถั่วลิสงด้วยการใช้สารเคมีตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตร จังหวัดสุรินทร์ วิธีทดสอบให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 358 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรที่ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 265 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถยกระดับผลผลิตได้ คิดเป็นร้อยละ 35.1 ทาให้มีผลตอบแทนและ ค่า BCR สูงกว่าวิธีเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 23.04 จังหวัดนครราชสีมา วิธีทดสอบได้ผลผลิตเฉลี่ย 546 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรที่ได้ผลผลิตเฉลี่ย 476 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถยกระดับผลผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 14.7 ทาให้ได้ผลตอบแทนสูงกว่าวิธีเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 18.7 และมีค่า BCR สูงกว่าวิธีเกษตรกร จังหวัดร้อยเอ็ด วิธีเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่า ทาให้มีรายได้ ผลตอบแทน และค่า BCR สูงกว่าวิธีทดสอบ เนื่องจากเกษตรกรมีการฉีดพ่นฮอร์โมน และปุ๋ยเกล็ดเป็นอาหารเสริม ทาให้ได้ผลผลิตสูงกว่าวิธีทดสอบ จังหวัดมหาสารคาม วิธีทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกรอย่างชัดเจน สามารถยกระดับผลผลิตเฉลี่ยได้มากกว่า ร้อยละ 24 และสามารถลดต้นทุนต่อหน่วยการผลิตได้ร้อยละ 9 ทาให้เกษตรกรมีผลตอบแทนต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 จังหวัดยโสธร วิธีทดสอบได้ผลผลิตฝักสด 518 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรที่ได้ผลผลิตฝักสด 396 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถยกระดับผลผลิตได้ คิดเป็นร้อยละ 30.8 ทาให้มีรายได้สูงกว่าวิธีเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 16.7 และมีค่า BCR สูงกว่าวิธีเกษตรกร
กิจกรรมที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในสภาพไร่
วลีรัตน์ วรกาญจนบุญ, จักรพรรดิ์ วุ้นสีแซง, โสภิตา สมคิด, ประดับศรี เงินมั่น, กิตติทัต แสนปลื้ม, สุทธิดา บูชารัมย์, สวัสดิ์ สมสะอาด, สุชาติ แก้วกมลจิต, ไพรัตน์ เทียบแก้ว, เบ็ญญาดา จันทร์ดวงศรี, เกียรติก้อง พรมศรีธรรม, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, ศรีนวล สุราษฎร์, พีชณิตดา ธารานุกูล, ชูศักดิ์ แขพิมาย, พรศุลี อิศรางกูล ณ อยุธยา, นาฏญา โสภา, สุดารัตน์ โชคแสน และกุหลาบทิพย์ ชาหอมชื่น
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตในสภาพไร่ เพื่อแก้ปัญหาการผลิตถั่วลิสงในฤดูฝนให้มีคุณภาพ ลดปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ในฤดูปลูกถัดไป และเพิ่มผลผลิตเฉพาะพื้นที่ ดาเนินการปี 2559 - 2561 ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา และร้อยเอ็ด เกษตรกรร่วมทดสอบจังหวัดละ 5 - 10 ราย โดยเปรียบเทียบวิธีทดสอบกับวิธีปฏิบัติของเกษตรกร ในการทดสอบใช้พันธุ์เดียวกันแต่ต่างกรรมวิธี ผลการทดสอบพบว่า จังหวัดอุบลราชธานี วิธีทดสอบได้ผลผลิตมีคุณภาพสูงกว่าวิธีเกษตรกร โดยมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยกว่า และให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร สามารถยกระดับผลผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 39 ทาให้มีรายได้และผลตอบแทนสูงกว่าวิธีเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 39 และ 94 ตามลาดับ จังหวัดบุรีรัมย์ วิธีทดสอบและวิธีเกษตรกรมีองค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตไม่แตกต่างกัน แต่วิธีทดสอบมีต้นทุนสูงกว่าวิธีเกษตรกร วิธีเกษตรกรจึงได้ผลตอบแทนและผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่ายการลงทุน (BCR) สูงกว่าวิธีทดสอบ แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรทาดีอยู่แล้ว แต่เกษตรกรประสบปัญหาโรคและแมลงศัตรูถั่วลิสง ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐควรเข้าไปให้คาแนะนาในเรื่องการจัดการศัตรูพืชดังกล่าว เป็นการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง จังหวัดสุรินทร์ วิธีทดสอบได้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยสูงกว่าวิธีเกษตรกร สามารถยกระดับผลผลิตได้ คิดเป็นร้อยละ 7.22 ทาให้มีรายได้และผลตอบแทนสูงกว่าวิธีเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 4.23 และ 7.59 ตามลาดับ จังหวัดนครราชสีมา วิธีทดสอบได้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ยสูงกว่าวิธีเกษตรกร สามารถยกระดับผลผลิตได้ คิดเป็นร้อยละ 27.08 ทาให้มีรายได้และผลตอบแทนสูงกว่าวิธีเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 27.11 และ 40.13 ตามลาดับ จังหวัดร้อยเอ็ด วิธีทดสอบได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าวิธีเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 11.43 จึงมีรายได้และผลตอบแทนสูงกว่า คิดเป็นร้อยละ 11.70 และ 28.50 ตามลาดับ จากผลการทดสอบ วิธีทดสอบสามารถยกระดับผลผลิต ทาให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพหมุนเวียนใช้ให้เพียงพอตลอดทั้งปี มีการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงที่เหมาะสมในพื้นที่ไปยังเกษตรกรในพื้นที่ข้างเคียงต่อไป