การผลิตขยายและการใช้แบคทีเรีย Pasteuria penetrans ไอโซเลตไทยในการควบคุมไส้เดือนฝอยราก
#1
การผลิตขยายและการใช้แบคทีเรีย Pasteuria penetrans ไอโซเลตไทยในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita
ไตรเดช ข่ายทอง ธิติยา สารพัฒน์ รุ่งนภา ทองเคร็ง
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดสอบประสิทธิภาพแบคทีเรีย P. penetrans ไอโซเลตมันฝรั่ง มันขี้หนู และพริก ในการเกาะผนังลำตัวของตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita ระยะที่สอง ประชากรจาก จ. ตาก จ.จันทบุรี และจ. ขอนแก่น และประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ประชากรจาก จ. ตาก ดำเนินการในปีงบประมาณ 2559 พบว่าสปอร์ของแบคทีเรีย P. penetrans ไอโซเลตมันฝรั่ง มันขี้หนู และพริก สามารถเกาะผนังลำตัวของตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ระยะที่สองประชากรจาก จ.ตาก ได้ดีที่สุด การทดสอบการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ประชากรจาก จ.ตาก ของแบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลต ในกระถางทดลอง โดยการคลุกดินด้วยสปอร์ของแบคทีเรียอัตรา 3,000 10,000 และ 100,000 สปอร์ต่อดิน 1 กรัม พบว่าแบคทีเรีย P. penetrans ไอโซเลตมันฝรั่ง อัตรา 100,000 สปอร์ต่อดิน 1 กรัม มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการลดประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในดิน และลดการสร้างกลุ่มไข่ของไส้เดือนฝอยรากปมบนรากมะเขือเทศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม อย่างไรก็ตามผลการทดลองที่ได้พบว่า แบคทีเรีย P. penetrans ทุกไอโซเลต มีศักยภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมประชากรจาก จ.ตาก ได้ในระยะยาว เนื่องจากสปอร์ของแบคทีเรียทุกไอโซเลตสามารถเกาะผนังลำตัวของตัวอ่อนไส้เดือนฝอยในดินได้ 100 เปอร์เซ็นต์เมื่อมีปริมาณสปอร์ในดินสูง นอกจากนี้แบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลต มีเปอร์เซ็นต์ในการเข้าทำลายและสร้างสปอร์ในตัวเต็มวัยเพศเมียสูงเช่นเดียวกัน


ไฟล์แนบ
.pdf   140_2560.pdf (ขนาด: 295.67 KB / ดาวน์โหลด: 508)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม