12-12-2018, 10:03 AM
ศึกษาการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในกาแฟอะราบิกา
ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ธารทิพย ภาสบุตร, สุพัตรา เลิศวัฒนาเกียรติ, ฉัตรนภา ข่มอาวุธ และวิมล แก้วสีดา
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน
ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ธารทิพย ภาสบุตร, สุพัตรา เลิศวัฒนาเกียรติ, ฉัตรนภา ข่มอาวุธ และวิมล แก้วสีดา
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน
การป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนสในกาแฟอะราบิกา ทำการทดลองที่ จ.เชียงใหม่ จำนวน 2 แปลงทดลอง ระหว่าง 2559 - 2561 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรรมวิธี ได้แก่ สาร azoxystrobin + difenoconazole 20% + 12.5% W/V SC อัตรา 10 มล. /น้ำ 20 ลิตร, benomyl 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, prochloraz 45% W/V EC อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีใช้น้ำเปล่า ทำการพ่นสารทดลองตามกรรมวิธี เริ่มพ่นเมื่อกาแฟเริ่มติดผล พ่นทุก 30 วัน หยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 30 วัน แปลงทดลองที่ 1 เริ่มทำการทดลองในปี 2559 จากการทดลองแปลงทดลองที่ 1 พบว่า benomyl 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้ผลในการป้องกันกำจัดดีที่สุด รองลงมา ได้แก่ azoxystrobin+difenoconazole 20% + 12.5% W/V SC อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร, mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, prochloraz 45% W/V EC อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และตัดแต่งกิ่ง ไม่พ่นสาร ตามลำดับ