09-11-2018, 02:19 PM
ปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์สุราษฎร์ธานี 7
อรรัตน์ วงศ์ศรี, เกริกชัย ธนรักษ์, สุรกิตติ ศรีกุล, เพ็ญศิริ จำรัสฉาย, ชุมพล เชาวนะ, วิชณีย์ ออมทรัพย์สิน, ยิ่งนิยม ริยาพันธ์, สุจิตรา พรหมเชื้อ, สุวิมล กลศึก, กาญจนา ทองนะ, พสุ สกุลอารีวัฒนา, สายชล จันมาก, นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, จำลอง กกรัมย์, วราวุธ ชูธรรมธัช และวิรัตน์ ธรรมบำรุง
ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี, ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 และสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
อรรัตน์ วงศ์ศรี, เกริกชัย ธนรักษ์, สุรกิตติ ศรีกุล, เพ็ญศิริ จำรัสฉาย, ชุมพล เชาวนะ, วิชณีย์ ออมทรัพย์สิน, ยิ่งนิยม ริยาพันธ์, สุจิตรา พรหมเชื้อ, สุวิมล กลศึก, กาญจนา ทองนะ, พสุ สกุลอารีวัฒนา, สายชล จันมาก, นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, จำลอง กกรัมย์, วราวุธ ชูธรรมธัช และวิรัตน์ ธรรมบำรุง
ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี, ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 และสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
การเปรียบเทียบพันธุ์เพื่อคัดเลือกลูกผสมปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตทะลายสด ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ และองค์ประกอบทะลายสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดยกรมวิชาการเกษตร ทำการปลูกทดสอบและเก็บข้อมูลระหว่างปี 2546 - 2558 ณ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี จากคู่ผสมปาล์มน้ำมัน 23 คู่ผสม ในแปลงทดสอบที่ 1 พบว่าลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 หรือคู่ผสมหมายเลข 198 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย (อายุ 3 - 12 ปี) 4,458 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี หรือ 195.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี สูงกว่าลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ 30.2 เปอร์เซ็นต์ องค์ประกอบผลผลิตได้แก่จำนวนทะลายต่อต้นและน้ำหนักทะลายสูงกว่าทุกคู่ผสมและพันธุ์เปรียบเทียบอย่างสม่ำเสมอ โดยมีจำนวนทะลายเฉลี่ย 14.7 ทะลายต่อต้นต่อปี และน้ำหนักทะลายเฉลี่ย 15.0 กิโลกรัมต่อทะลาย นอกจากนี้มีเปลือกนอกต่อผล กะลาต่อผล และน้ำมันต่อทะลาย 79.6 9.3 และ 23.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยังให้เนื้อในต่อผล 11.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 ได้รับการรับรองเป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตรในปี 2553 และได้ดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ มีการนำไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่ปี 2553 - ปัจจุบัน โดยผลิตพันธุ์จำหน่ายจ่ายแจกจำนวน 3,004,160 เมล็ด คิดเป็นพื้นที่ปลูก ประมาณ 1 แสนไร่ และผลลัพธ์จากผลงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ก่อให้เกิดประโยชน์ความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตปาล์มน้ำมันพันธุสุราษฎร์ธานี 7 ทำให้มีรายได้เพิ่ม ลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร และลดการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ