การแก้ไขปัญหาการส่งออกชมพู่ไปจีน
#1
การแก้ไขปัญหาการส่งออกชมพู่ไปจีน
นพรัตน์ บัวหอม, อรทัย เอื้อตระกูล, สุรพล สุขพันธ์, สัญญาณี ศรีคชา, วลัยกร รัตนเดชากุล, พรพิมล ชื่นชม, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย, จันทนา ใจจิตร, สิทธิพร งามมณฑา, ภิรมน เจริญศรี, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, ช่อทิพย์ ศัลยพงษ์, ธีระ รัตนพันธุ์, ปัญญา พุกสุ่น และวิไลวรรณ พรหมคำ
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี, สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5

          กระทรวงควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) ได้ประกาศระงับการนำเข้าชมพู่จากประเทศไทยทั้งหมดเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 เนื่องจากปัญหาการตรวจพบแมลงวันผลไม้ติดปนไปจำนวนมาก คณะทำงานจึงได้จัดทามาตรการควบคุมความเสี่ยงด้านแมลงวันผลไม้ในการส่งออกชมพู่ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็นการจัดการทั้งระบบ ตั้งแต่ สวน โรงคัดบรรจุ และการส่งออก เพื่อเสนอ AQSIQ พิจารณาเห็นชอบ และอนุญาตให้มีการนา เข้าชมพู่จากประเทศไทยอีกครั้งด้วยการลงนามในพิธีสาร โดยระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2557 ทั้งสองฝ่ายได้มีการประชุมหารือ จัดตั้ง expert working group และ AQSIQ ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญชุดที่ 1 เดินทางมาตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุชมพู่ที่ประเทศไทย รวมถึงทำการศึกษาชนิดของถุงพลาสติกห่อผล และระยะห่อผลร่วมกัน ทำให้ได้มาตรการฯ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 ซึ่งกำหนดให้ใช้ถุงพลาสติกห่อผลขนาด 8 x 16 นิ้ว ที่มีการเจาะรูระบายน้ำแบบซ่อนรูปบริเวณแนวรอยซีลสำเร็จจากโรงงาน และต้องห่อผลให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันหลังจากไหมร่วง นำไปสู่การลงนามใน “พิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับผลชมพู่สดส่งออกจากไทยไปจีน (ฉบับย่อ)” ในเดือนธันวาคม 2557 โดยกรมวิชาการเกษตรได้อนุมัติ “โครงการวิจัยเร่งด่วนประจำปี งบประมาณ 2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาชมพู่ที่ถูกระงับการนำเข้าโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน” เพื่อให้มีการทดลองส่งออกชมพู่ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2558 จากสวนและโรงคัดบรรจุชมพู่ที่กำหนด โดยผลการทดลองส่งออกไม่พบปัญหาด้านแมลงวันผลไม้แต่อย่างใด ระหว่างนั้น AQSIQ ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญชุดที่ 2 เดินทางมาตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรรจุชมพู่รายใหม่ โดยเห็นชอบให้เกษตรกรขยายระยะห่อผลออกไปเป็นภายใน 14 วันหลังจากไหมร่วง เพื่อลดปัญหาการเน่าเสีย และเสนอให้ใช้ถุงพลาสติกห่อผลขนาด 8 x 20 นิ้ว แทนขนาด 8 x 16 นิ้ว ที่สั้นเกินไปหากมีการเจาะรูระบายน้า เพิ่มเติม ทั้งสองฝ่ายจึงได้ประชุมเจรจาในเดือนเมษายน 2558 โดยเห็นชอบให้มีการทดลองส่งออกชมพู่ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2558 ด้วยการใช้ถุงพลาสติกห่อผลขนาด 8 x 17 นิ้ว ตามข้อเสนอขอคณะทำงาน และให้คณะทำงานทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของถุงพลาสติกห่อผล 3 ขนาด คือ 8 x 17 นิ้ว, 8 x 18 นิ้ว และ 8 x 20 นิ้ว ในการป้องกันแมลงวันผลไม้ ภายใต้โครงการวิจัยเร่งด่วนดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ถุงพลาสติกห่อผลขนาด 8 x 17 นิ้ว ที่มีทั้งรูระบายน้ำแบบซ่อนรูป จำนวน 5 รู ตามแนวรอยซีล และมีรูระบายน้ำขนาด 0.2 เซนติเมตร ที่เจาะเพิ่มเติม จำนวน 2 แถว เหนือแนวรอยซีลไม่เกิน 1 เซนติเมตร สามารถป้องกันแมลงวันผลไม้ได้ 100% และมีแนวโน้มของผลเสียน้อยที่สุด ซึ่ง AQSIQ ได้เห็นชอบกับผลการศึกษานี้และนำ ไปกำหนดเป็นเงื่อนไขในพิธีสารชมพู่ฯ ซึ่งมีการลงนามในระดับรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2560 โดย AQSIQ ได้อนุญาตให้นำ เข้าชมพู่จากประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558 และได้แจ้งเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2559 ว่า มีความเชื่อมั่นในระบบการกำกับดูแลสวนชมพู่ โดยเห็นชอบให้กรมวิชาการเกษตรเสนอรายชื่อสวนชมพู่รายใหม่เพื่อขึ้นทะเบียนได้โดยไม่ต้องผ่านการตรวจประเมินจากคณะผู้เชี่ยวชาญจาก AQSIQ ขณะเดียวกัน สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรได้จัดทำ “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับการส่งออกผลชมพู่สดไปสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2559” และได้รับการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ผลการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำให้ปัจจุบันมีสวนชมพู่ ที่ได้รับอนุญาตแล้ว จำนวน 69 สวน โรงคัดบรรจุที่ได้รับอนุญาตแล้วจำนวน 5 แห่ง ปริมาณการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 – 31 ธันวาคม 2559 มีจำนวน 430 ครั้ง ปริมาณ 674.31 ตัน มูลค่าประมาณ 38.17 ล้านบาท


ไฟล์แนบ
.pdf   12_2559.pdf (ขนาด: 9.16 MB / ดาวน์โหลด: 932)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม