03-17-2017, 09:52 AM
การเจริญเติบโต การออกดอกติดผลและการพัฒนาของผลชาน้ำมันในภาคเหนือตอนบน
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, ศิริพร มะเจี่ยว, สมพล นิลเวศน์ และทิวาพร ผดุง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1, ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง และสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, ศิริพร มะเจี่ยว, สมพล นิลเวศน์ และทิวาพร ผดุง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1, ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง และสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ชาน้ำมัน (Camellia oleifera Abel) มีถิ่นกำเนิดและปลูกในสาธารณรัฐประชาชน ได้นำมาปลูกในประเทศไทยมากกว่า 4,000 ไร่ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมาการศึกษาพัฒนาการของใบการออกดอกติดผลและการพัฒนาของผลชาน้ำมันในภาคเหนือตอนบนเพื่อใช้แนะนำเกษตรกรและเป็นแนวทางวิจัยพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง (โป่งน้อย) เชียงใหม่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ระหว่างปี 2556 - 2557 โดยใช้ต้นชาน้ำมันพันธุ์อินทนนท์ C-O-E หูหนาน#1 และกวางสี#2 พันธุ์ละ 10 ต้น จากการศึกษาพบว่า ความกว้างและความยาวของใบเพิ่มขึ้นแบบ simple sigmoid curve ใช้เวลาเฉลี่ย 28.5 วัน จนใบขยายใหญ่เต็มที่ การเปลี่ยนแปลงค่า Fv/Fmratio และ SPAD unit ของใบในรอบปีไม่แตกต่างกันและทิศทางการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนจึงอาจสรุปได้ว่าปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบและความเครียดของพืชไม่ใช่ปัจจัยหลักควบคุมในการการออกดอกของชาน้ำมัน ปริมาณ TNC ในใบเริ่มลดลงจากเดือนมกราคมจนถึงพฤษภาคมแล้วเพิ่มขึ้นตามลำดับจนถึงเดือนตุลาคม ในขณะที่ปริมาณ TN ในใบมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณในรอบปีน้อยมาก ปริมาณ TNC ในใบจึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการควบคุมการออกดอกของชาน้ำมัน การติดผลค่อนข้างต่ำโดยพันธุ์ C-O-E หูหนาน#1 และกวางสี #2 ติดผลเฉลี่ย 20.93 23.68 และ 22.00% ตามลำดับ น้ำหนักเมล็ด น้ำหนักเปลือกและน้ำหนักผลแต่ละพันธุ์แตกต่างกันและการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักเป็นแบบ simple sigmoid curve ซึ่งใช้เวลา 8-9 เดือนพัฒนาจนผลแก่เต็มที่ ผลพันธุ์ C-O-E หูหนาน#1 และกวางสี#2 มีจำนวนเมล็ด 4.80 3.87 และ 4.33 เมล็ด/ผล ตามลำดับ