การอบดินด้วยแสงอาทิตย์และการคลุกเคล้าดินด้วยผักกาดเขียวเพื่อกำจัดโรคเหี่ยว
#1
การอบดินด้วยแสงอาทิตย์และการคลุกเคล้าดินด้วยผักกาดเขียวเพื่อกำจัดโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียของขิงในแปลงปลูก
สุรชาติ คูอาริยะกุล, ปฏิพัทธ์ ใจปิน, วัชรพล บำเพ็ญอยู่, วิมล แก้วสีดา และสุธามาศ  ณ น่าน

          การอบดินด้วยแสงอาทิตย์ (Soil solarization, SS) และการคลุกเคล้าดินด้วยผักกาดเขียวใบ#71 เพื่อรมดินโดยวิธีชีวภาพ (Biofumigation, BF) ในแต่ละวิธีการหรือทั้งสองวิธีการร่วมกัน เพื่อกำจัดโรคเหี่ยวของขิงที่เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum (Rso) ในสภาพแปลงปลูก ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2557 โดยการปลูกขิงแล้วปลูกเชื้อโดยการหยดสารแขวนลอยแบคทีเรีย Rso isolate 5003-2 ลงบนแผลที่ก้านใบของขิงให้เป็นโรคเหี่ยว  จากนั้นจึงบำบัดดินที่ติดเชื้อ วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 7 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ การประเมินผลจากจำนวนต้นขิงที่ปลูกเป็นพืชบ่งชี้ (indexing plant) ในปี พ.ศ. 2556 พบว่า การอบดินด้วยแสงอาทิตย์ร่วมกับการรมดินโดยวิธีชีวภาพ ให้ผลในการกำจัดโรคเหี่ยวของขิงดีกว่าการอบดินด้วยแสงอาทิตย์ และการรมดินโดยวิธีชีวภาพหลังจากนั้นต้นขิงมีการติดเชื้อและเป็นโรคเหี่ยวเพิ่มมากขึ้น และอยู่ในระดับเดียวกับชุดควบคุม (ดินติดเชื้อและไม่มีการกำจัดวัชพืช) ในช่วงการตรวจผล 102 - 185 วัน  ส่วนในปี พ.ศ. 2557 มีการปลูกเชื้อโดยการราดสารแขวนลอยแบคทีเรีย Rso isolate 5003-2 ซ้ำ ก่อนการทดลองเพื่อให้มั่นใจว่ามีเชื้อกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอ การวัดค่าอุณหภูมิของดินที่ความลึก 20 ซม. จากระดับผิวดิน ระหว่างการทดลองอบดินด้วยแสงอาทิตย์ และการอบดินโดยวิธีชีวภาพ ในแต่ละวิธีการและทั้งสองวิธีการร่วมกันพบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของดินสูงขึ้นอยู่ในช่วง 38.1 - 61.1 oC และอุณหภูมิของดินที่สูงอยู่ในช่วง 49.2 - 61.1 oC เปรียบเทียบกับอุณหภูมิของดินที่ระดับความลึก 20 ซม. จากผิวดินอยู่ในช่วง 24.4 - 31.1 oC การประเมินผลจากพืชบ่งชี้ปรากฏว่า การอบดินด้วยแสงอาทิตย์ร่วมกับการรมดินโดยวิธีชีวภาพ ให้ผลการกำจัดโรคเหี่ยวของขิงในแปลงปลูกอยู่ในระดับเดียวกับกรรมวิธีการอบดินด้วยแสงอาทิตย์ และการรมดินโดยวิธีชีวภาพ  ต้นขิงเจริญเติบโตปกติจำนวน 69.6 - 79.9% และลดลงเหลือจำนวน  40.6 - 52.2% แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดควบคุม ไม่มีการกำจัดวัชพืชกับดินที่ติดเชื้อโรคเหี่ยว (positive check) ที่มีต้นขิงเจริญเติบโตปกติ จำนวน 58.0% และลดลงเหลือ 10.3% จากการตรวจผลภายหลังปลูก 40 วัน และ 90 วัน ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   193_2557.pdf (ขนาด: 329.88 KB / ดาวน์โหลด: 1,762)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม