02-17-2017, 03:30 PM
รวบรวมและคัดเลือกพันธุ์รางจืด
สมบัติ บวรพรเมธี, ปิยะมาศ โสมภีร์, สุภาพร สุขโต, สมพร เหรียญรุ่งเรือง และสงัด ดวงแก้ว
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี, ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี
สมบัติ บวรพรเมธี, ปิยะมาศ โสมภีร์, สุภาพร สุขโต, สมพร เหรียญรุ่งเรือง และสงัด ดวงแก้ว
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี, ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี
การรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์รางจืด โดยดำเนินการในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ดำเนินการจัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์รางจืดจากพื้นที่ต่างๆ จาก 26 จังหวัด ได้จำนวน 182 สายต้น จากนั้นทำการคัดเลือกลักษณะต้นใบที่เหมือนกันจากแหล่งเดียวกัน จึงได้สายต้นที่มีการเจริญเติบโตดี 73 สายต้น แบ่งออกเป็น 2 สปีชี่ย์ คือ Thunbergia laurifolia Lindl. (รางจืด) ไม่มีขน จำนวน 63 สายต้น และ T. grandiflora Roxb. (สร้อยอินทนิล) มีขนจำนวน 10 สายต้น เมื่อจำแนกตามลักษณะใบได้ 2 ลักษณะ คือ ใบรูปแฉก (3 - 5แฉก) จำนวน 16 สายต้น และใบยาว (แฉกไม่ชัดเจน) จำนวน 57 สายต้น สำหรับพื้นที่ใบมีความแปรปรวนสูง โดยมีพื้นที่ใบ 15.90 - 180.83 ตารางเซนติเมตร
ปริมาณสารฟีนอลิกจากใบรางจืดมีปริมาณ 86,791.67 - 216,176.67 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม โดยสายต้นที่มีปริมาณสารฟีนอลิกสูงที่สุด คือ กระบี่2 โดยมีปริมาณสารฟีนอลิกรวม 216,176.67 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม รองลงมา คือ จันทบุรี10 ฉะเชิงเทรา5 พัทลุง1 และแพร่2 โดยมีปริมาณสารฟีนอลิกรวม 207,765.00 200,865.00 195,990.00 และ 188,943.33 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม ตามลำดับ ส่วนรากรางจืดมีปริมาณสารฟีนอลิกอยู่ระหว่าง 38,529.67 - 155,203.33 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม สายต้นที่มีปริมาณสารฟีนอลิกรวมมากที่สุด คือ สงขลา3 โดยมีปริมาณสารฟีนอลิกรวม 155,203.33 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม รองลงมา คือ กำแพงเพชร จันทบุรี9 สงขลา1 และ ราชบุรี1 โดยมีปริมาณสารฟีนอลิกรวม 155,203.33 120,016.67 110,276.67 109,998.33 และ 97,045.00 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม ตามลำดับ โดยปริมาณสารฟีนอลิกของใบรางจืดมีปริมาณเฉลี่ย 150,791.76 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม มากกว่าปริมาณสารฟีนอลิกรวมของรากรางจืดมีปริมาณเฉลี่ย 69,190.05 มิลลิกรัม GAE/100 กรัม นอกจากนี้ต้นรางจืด (T. laurifolia Lindl) และต้นสร้อยอินทนิล (T. grandiflora Roxb.) ยังมีปริมาณสารฟีนอลิกในระดับใกล้เคียงกัน