การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดเพื่อผลผลิตและคุณภาพ (ชุด 3)- การเปรียบเทียบเบื้องต้น
#1
การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดเพื่อผลผลิตและคุณภาพ (ชุด 3)- การเปรียบเทียบเบื้องต้น
รัชนี โสภา และอ้อยทิน ผลพานิช
ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่

          การพัฒนาพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์ใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดีสำหรับการบริโภค ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนกันยายน 2557 ปลูกถั่วเหลืองฝักสดสายพันธุ์ก้าวหน้าจำนวน 36 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบ 2 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์นัมเบอร์ 75-3 และ เชียงใหม่ 84-2 ในฤดูแล้งและฤดูฝน รวม 2 ฤดูปลูก เก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝักสดในระยะที่มีฝักโต เต่งเต็มฝัก หรือระยะ R6 บันทึกข้อมูลผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ดีที่มีค่าเฉลี่ยของความกว้างฝัก ความยาวฝัก น้ำหนักฝักสดรวม น้ำหนักฝักสดมาตรฐาน จำนวนฝักสดมาตรฐานต่อกิโลกรัม และน้ำหนัก 100 เมล็ดสดสูง มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี ได้จำนวน 11 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ CM0910-8-1-3, CM0913-2-2-3, CM0914-4-5-5, CM0914-4-5-7, CM0914-4-6-1, CM0914-5-3-2, CM0914-5-4-4, CM0914-5-4-6, CM0914-6-1-1, CM0915-5-4-1 และ CM1010-2-4-7 โดยสายพันธุ์ดีทั้ง 11 สายพันธุ์ มีความกว้างฝักเฉลี่ย 1.40 เซนติเมตร ความยาวฝักเฉลี่ย 4.60 เซนติเมตร  น้ำหนักฝักสดรวมเฉลี่ย 3,021 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักฝักสดมาตรฐานเฉลี่ย 998.4 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักสดมาตรฐานต่อกิโลกรัม 291.5 ฝัก และมีน้ำหนัก 100 เมล็ดสด 68.23 กรัม และจะได้นำเข้าเปรียบเทียบมาตรฐานในปี 2558 ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   85_2557.pdf (ขนาด: 236.39 KB / ดาวน์โหลด: 711)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม