ศึกษาการป้องกันกำจัดหนอนเจาะลำต้นและหนอนเจาะฝักในข้าวโพดหวาน
#1
ศึกษาการป้องกันกำจัดหนอนเจาะลำต้น (Ostrinia furnacalis Guenee) และหนอนเจาะฝัก (Helicoverpa armigera Hubner) ในข้าวโพดหวาน
ปวีณา ไชยวรรณ์, เชาวนาถ พฤทธิเทพ, ชูชาติ บุญศักดิ์, อัจฉรา จอมสง่าวงศ์ และวรรษมน มงคล 
ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท

          การศึกษาการป้องกันกำจัดหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Ostrinia furnacalis Guenee) และหนอนเจาะฝักข้าวโพด (Helicoverpa armigera Hubner) ในข้าวโพดหวาน ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ระหว่างปี 2556 ถึงปี 2557 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ประกอบด้วยการใช้สารป้องกันกำจัดชนิดต่างๆ ได้แก่ 1) คลอร์ฟลูอาซูรอน 5%EC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 2) อิมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92%EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 3) เบตาไซฟลูทริน 2.5%EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 4) แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis 8,500 IU/mg อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 5) ฟิโพรนิล 5%SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ 6) การไม่พ่นสาร เมื่อครบ 21 วัน หลังการพ่นสาร พบว่าการพ่นสารฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และสารคลอร์ฟลูอาซูรอน 5%EC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พบจำนวนหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด 0.11 และ 0.12 ตัวต่อข้าวโพด 20 ต้น ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างทางสถิติจากการพ่นด้วยสารเบตาไซฟลูทริน 2.5%EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งพบหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด 0.49 ตัวต่อข้าวโพด 20 ต้น โดยพบว่าสารเคมีที่ให้ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดดีที่สุด คือ กรรมวิธีการพ่นด้วยสารคลอฟลูอาซูรอน 5%EC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การควบคุมแมลงสูงสุด รองลงมา  คือ การพ่นด้วยสารฟิโปรนิล 5%SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และสารอิมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92%EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร คือ 19.8 16.9 และ 14.9 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   70_2557.pdf (ขนาด: 190.6 KB / ดาวน์โหลด: 1,005)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม