การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#1
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแห้งแล้ง
ชุติมา คชวัฒน์, ชนันทวัฒน์ ศุภสุทธิรางกูล,  เพ็ญรัตน์  เทียมเพ็ง และรัชดา  ปรัชเจริญวนิชย์ 
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์, ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา

          ศึกษาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลตอบแทน และทางเลือกเทคโนโลยีการผลิตในจังหวัดนครสวรรค์ นครราชสีมาและเพชรบูรณ์ พบว่า ต้นทุนการผลิตที่นครสวรรค์ 4,176.27 บาทต่อไร่หรือ 3.84 บาทต่อกิโลกรัม ที่นครราชสีมา 3,893.54 บาทต่อไร่ หรือ 4.32 บาทต่อกิโลกรัม ที่เพชรบูรณ์ 4,082.81 บาทต่อไร่ หรือ 11.09 บาทต่อกิโลกรัม กรณีเพชรบูรณ์ประสบความแห้งแล้งรุนแรงผลผลิตไม่ควรต่ำกว่า 533.70 กิโลกรัมต่อไร่จึงจะคุ้มทุน ผลตอบแทนสุทธิที่นครสวรรค์ 2,372.59 บาทต่อไร่ หรือ 2.18 บาทต่อกิโลกรัม ที่นครราชสีมา 3,725.20 บาทต่อไร่ หรือ 4.14 บาทต่อกิโลกรัม  ที่เพชรบูรณ์ -1,267.30 บาทต่อไร่ หรือ -3.44 บาทต่อกิโลกรัม กรณีเพชรบูรณ์ถ้าไม่ประสบความแห้งแล้งรุนแรงการผลิตข้าวโพดยังให้ผลตอบแทนดี  สภาพฝนปกติผลตอบแทนสุทธิที่นครสวรรค์ นครราชสีมา และเพชรบูรณ์ คิดเป็น 2.48, 2.63 และ 2.89 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ  ต้นทุนการผลิตเรียงลำดับจาก ค่าปุ๋ย ค่าเก็บเกี่ยว ค่าเตรียมดิน  ค่าเมล็ดพันธุ์ และค่าดูแลรักษา คิดเป็นร้อยละ 30, 29, 18, 10 และ 7 ตามลำดับ  เกษตรกรส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยไม่ถูกสูตร เวลา อัตราใส่ และไม่ตรงกับชนิดดิน ควรแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรกลและเป็นทางเลือกแก่เกษตรกรโดยผ่านเกษตรอำเภอ เกษตรตำบล และอบต. หากคาดว่าจะประสบความแห้งแล้งเกษตรกรไม่ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี พันธุ์ที่เกษตรกรเลือกใช้ คือ ผลผลิตสูง ทนแล้ง     แกนเล็ก น้ำหนักเมล็ดดี ไม่หักล้มเมื่อใช้เครื่องเก็บเกี่ยว ความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์สูง


ไฟล์แนบ
.pdf   67_2557.pdf (ขนาด: 356.63 KB / ดาวน์โหลด: 1,488)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม