ศึกษาเพื่อร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชที่มีศักยภาพพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช
#1
ศึกษาเพื่อร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชที่มีศักยภาพตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
วาสนา มั่งคั่ง, ธิดากุญ แสนอุดม, รุ่งทิวา ธนาธาตุ, ป่าน ปานขาว, วราภรณ์ ทองพันธ์, ณัฐวุฒิ กฤษสมัคร, ยุวลักษณ์ ผายดี, อรทัย วงศ์เมธา และพีชณิดา ธารานุกูล
สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช, ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง

          พืชที่มีศักยภาพ 5 ชนิด ได้แก่ ไผ่ กะหล่ำปลี ผักกาดหัว มันเทศ และเบญจมาศ เป็นชนิดพืชที่ยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นชนิดพืชที่จะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 การวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ ทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ทั้งในและต่างประเทศ ความหลากหลาย การใช้ประโยชน์และการกระจายพันธุ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลพืชทั้ง 5 ชนิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการดำเนินงานด้านการคุ้มครองพันธุ์พืช และเตรียมความพร้อมสำหรับการประกาศกำหนดชนิดพืชให้เป็นพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการคุ้มครองต่อไป ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์ของพืชทั้ง 5 ชนิด โดยร่วมกับนักวิจัยของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดพิจิตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง มูลนิธิโครงการหลวง องค์การสวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ ทัณฑสถานเปิดปราจีนบุรี ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกไผ่ กะหล่ำปลี เบญจมาศ เพื่อการค้า โดยปลูกทดสอบพืชทั้ง 5 ชนิด เพื่อศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ที่สถานที่ดังกล่าว และได้ลักษณะประจำพันธุ์เพื่อจัดทำร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด ที่ใช้ในการจำแนกความแตกต่างระหว่างพันธุ์ ได้แก่ ไผ่ จำนวน 56 ลักษณะ กะหล่ำปลี จำนวน 32 ลักษณะ ผักกาดหัว จำนวน 28 ลักษณะ มันเทศ จำนวน 29 ลักษณะ และเบญจมาศ จำนวน 82 ลักษณะจากนั้น นำเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด โดย ที่ประชุมประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักปรับปรุงพันธุ์พืช และผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันพิจารณารายละเอียดในร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด จนกระทั่งได้หลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด ที่นำไปทดลองบันทึกข้อมูลในภาคสนาม ปรับปรุงจนสามารถนำไปใช้ในการจำแนกพันธุ์ พืชทั้ง 5 ชนิด และจัดทำคู่มือบันทึกลักษณะประจำพันธุ์พืชทั้ง 5 ชนิด ชนิดละ 1 คู่มือ


ไฟล์แนบ
.pdf   193_2558.pdf (ขนาด: 3.87 MB / ดาวน์โหลด: 1,413)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม