การศึกษาเพื่อการกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง
#1
การศึกษาเพื่อการกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง
ลมัย ชูเกียรติวัฒนา, ประภัสสรา พิมพ์พันธุ์, วิสุทธิ เชวงศรี, ยงยุทธ ไผ่แก้ว, สมสมัย ปาลกูล, จินตนา ภู่มงกุฎชัย, พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, ศศิมา มั่งนิมิตร์, ประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ, ลักษมี เดชานุรักษ์นุกูล, ปิยะศักดิ์ อรรคบุตร, วิทยา บัวศรี, วิษณุ แจ้งใบ, วะนิดา สุขประเสริฐ, ชนิตา ทองแซม, บุญทวีศักดิ์ บุญทวี, วีระสิงห์ แสงวรรณ และพรนภัส วิชานนะณานนท์

          หลายประเทศมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดในการนำเข้าสินค้าเกษตร เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าอาหารและใช้เพื่อกีดกันทางการค้า กรมวิชาการเกษตร ในฐานะที่รับผิดชอบด้านการผลิตพืช และการควบคุมคุณภาพสินค้าพืชที่ผลิตเพื่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลการปนเปื้อนจากสารพิษต่างๆ ในพืช เพื่อใช้เป็นเกณฑ์วัดคุณภาพสินค้าเกษตรตามหลักสุขอนามัย ดังนั้นข้อมูลสารพิษตกค้างจึงมีความสำคัญมาก วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างในผลิตผลเกษตรที่เป็นพืชส่งออกสำคัญ โดยนำข้อมูลที่ได้ร่วมพิจารณากำหนดค่า MRL ของประเทศไทย และนำเสนอเป็นค่า ASEAN MRL และ Codex MRL การศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุด ได้ดำเนินการศึกษาในแปลงทดลอง ตามหลักเกณฑ์ของโคเด็กซ์ (Codex Guidelines) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล โดยใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) และเก็บผลผลิตในระยะเวลาต่างๆ หลังการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรครั้งสุดท้าย เพื่อศึกษาการสลายตัวของสารพิษ และกำหนดระยะเก็บเกี่ยวผลิตผลที่ปลอดภัย โครงการวิจัยนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 - 2558 เป็นเวลา 5 ปี มีทั้งหมด 22 การทดลอง โดยกิจกรรมที่ 1 ศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างในผลไม้มี 7 การทดลอง ทำให้ได้ข้อมูลการสลายตัวของ methidathion ในส้มเขียวหวาน, ethion ในส้มเขียวหวาน, abamectin ในองุ่น profenofos ในส้มโอ, fipronil ในองุ่น, abamectin ในส้มเขียวหวาน, lambda cyhalothrin ในส้มเขียวหวานรวม 30 ชุดข้อมูล และกิจกรรมที่ 2 ศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างในผักมี 15 การทดลอง ได้ข้อมูลการสลายตัวของ chlorpyrifos ในถั่วเหลืองฝักสด, profenofos ในถั่วเหลืองฝักสด, fipronil ในถั่วฝักยาว, dimethoate ในถั่วฝักยาว, prothiophos ในมะเขือยาว, carbosulfan ในมะเขือยาว, omethoate ในถั่วเหลืองฝักสด, fipronil ในมะเขือ, buprofezin ในมะเขือ, indoxacarb ในคะน้า, lambda cyhalothrin ในคะน้า, ndoxacarb ในถั่วฝักยาว, carbosulfan ในถั่วฝักยาว, spiromesifen ในกะเพรา, fipronil ในคะน้า, รวมทั้งสิ้น 72 ชุดข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์สามารถกำหนดระยะเก็บเกี่ยวที่ปลอดภัย (Pre Harvest Interval: PHI) ในการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตร ได้ 22 ค่า และเสนอกำหนดเป็นค่า Asean MRL แล้ว ได้แก่ carbosulfan ในมะเขือ, dimethoateในถั่วฝักยาว, lambda cyhalothrin ในคะน้า, สำหรับการเสนอกำหนดค่า Codex MRL จะเสนอตามแผนการพิจารณาของคณะกรรมการโคเด็กซ์สาขาสารพิษตกค้าง ในแต่ละปีต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   174_2558.pdf (ขนาด: 353.17 KB / ดาวน์โหลด: 1,031)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม