วิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี
#1
วิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี
สาทิพย์ มาลี, รจนา ไวยเจริญ, ประภัสสร เชยคำแหง, รัตนา นชะพงษ์, สุชลวัจน์ ว่องไวลิขิต, สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี, อิศเรส เทียมทัด, วิไลวรรณ เวชยันต์, ภัทรพร สรรพนุเคราะห์, เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์, พัชรีวรรณ จงจิตเมตต์, มานิตา คงชื่นสิน, ดาราพร รินทะรักษ์, ปราสาททอง พรหมเกิด, วิชาญ วรรธนะไกวัล, ณัฐฐิญา กาญจนนิธิพัฒน์, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, บุษราคัม อุดมศักดิ์, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, สุรีย์พร บัวอาจ, พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ธารทิพย ภาสบุตร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ทัศนาพร ทัศคร, ทิพวรรณ กันหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง, ไตรเดช ข่ายทอง, ธิติยา สารพัฒน์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, พจนา ตระกูลสุขรัตน์, รุ่งนภา คงสุวรรณ, เสริมศิริ คงแสงดาว, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย และสุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          โครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการนำศัตรูธรรมชาติมาใช้ควบคุมศัตรูพืช เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ทำการทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการที่สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และในสภาพแปลงของเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งสิ้น 61 การทดลอง ประกอบด้วย 5 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การผลิตและการใช้แมลงและไรควบคุมศัตรูพืช จำนวน 7 การทดลอง ทำการศึกษาแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมแมลงหวี่ขาว ศึกษาศักยภาพของด้วงเต่าตัวห้ำและผีเสื้อตัวห้ำ พัฒนาการผลิตขยายมวนเพชฌฆาต และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแมลงช้างปีกใส กิจกรรมที่ 2 การผลิตและการใช้เชื้อจุลินทรีย์และไส้เดือนฝอยควบคุมแมลงศัตรูพืช จำนวน 20 การทดลอง ประกอบด้วยการศึกษาด้านไวรัส NPV ได้แก่ ศึกษาการผลิตไวรัส NPV โดยเซลล์เพาะเลี้ยง พัฒนาสูตรไวรัส NPV การเก็บรักษาและการนำไปใช้ การศึกษาด้าน BT ได้แก่ การคัดเลือก BT ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพสูง การผลิตขยาย BT ผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตรต่อ BT และระดับความต้านทานของแมลงต่อ BT การศึกษาด้านเชื้อราแมลง ได้แก่ การคัดเลือก การผลิตขยาย และทดสอบประสิทธิภาพเชื้อราบิวเวอเรียและราเขียวเมตาไรเซียม การศึกษาด้านไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง ได้แก่ การผลิตขยายไส้เดือนฝอย Steinernema riobrave S. graseri การทดสอบประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยและการเก็บรักษา กิจกรรมที่ 3 การผลิตและการใช้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืช จำนวน 24 การทดลอง ประกอบด้วย การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ Bacillus subtilis คัดเลือกและทดสอบสายพันธุ์ Bacillus ควบคุมเชื้อ Phytophthora parasitica Erwinia carotovora Rhizoctonia solani Colletrotrichum gloeosporioides C. capsici Ralstonia solanacearum Fusarium solani การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียในการควบคุมโรคโรคยางไหลในพืชตระกูลแตง โรคเน่าสีน้ำตาลและโรคใบจุดสีน้ำตาลในกล้วยไม้ การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรีย Pasteuria penetrans ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne spp และไส้เดือนฝอยเรนิฟอร์ม การผลิตและการใช้เชื้อราควบคุมโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยและเชื้อรา Sclerotium rolfsii Fusarium oxysporum Alternaria brassicicola กิจกรรมที่ 4 การควบคุมสัตว์ศัตรูพืช และวัชพืชโดยชีววิธี จำนวน 7 การทดลอง ประกอบด้วย การพัฒนาเหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนู การเพาะเลี้ยงหอยตัวห้ำและการสำรวจศัตรูธรรมชาติของหอยศัตรูพืช การใช้ฝอยทองควบคุมวัชพืช และการใช้ถั่วซีรูเลียมควบคุมหญ้าคา กิจกรรมที่ 5 ศูนย์ต้นแบบการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติเป็นปริมาณมาก จำนวน 3 การทดลอง ประกอบด้วยการพัฒนาวิธีการการผลิตขยายแตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูเป็นปริมาณมากและการเก็บรักษาแตนเบียนจนสามารถปรับลดต้นทุนการผลิต จากเดิมต้นทุนการผลิต 3 – 4.50 บาท/แตนเบียน 1 คู่ สามารถปรับให้ลดลงได้เหลือ 2 บาท/ 1 คู่ การจัดทำรูปแบบการผลิตหนอนนกซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อเป็นเหยื่ออาหารสำหรับนำไปผลิตมวนเพชฌฆาตเป็นปริมาณมากแบบครบวงจรและได้วิธีการเลี้ยงขยายไรตัวห้ำให้มีปริมาณมาก


ไฟล์แนบ
.pdf   164_2558.pdf (ขนาด: 16.4 MB / ดาวน์โหลด: 905)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม