การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงคุณภาพในภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
#1
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงคุณภาพในภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, ธัญพร งามงอน, ยุพา สุวิเชียร, พิกุลทอง สุอนงค์ และนวลจันทร์ ศรีสมบัติ

          หอมแดง เป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารไทยแทบทุกชนิด ปลูกมากที่จังหวัดศรีสะเกษ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และบุรีรัมย์ ปลูก 2 ฤดูกาล ช่วงที่ 1 ปลูก ในเดือนเมษายน - พฤษภาคม เพื่อทำพันธุ์ และช่วงที่ 2 ปลูกในเดือนตุลาคมมกราคม (หอมปี) เพื่อจำหน่าย ส่วนมากนำหัวพันธุ์หอมแดงมาจากที่อื่น ทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรคหอมเลื้อยที่เกิดจากเชื้อรา (Colletotrichum gloeosporioides (Penz) Sacc) ซึ่งเชื้อโรคติดมากับหัวพันธุ์ มาระบาดในแปลงปลูก ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 50% นอกจากนี้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพและเน่าเสียง่าย เก็บได้ไม่นาน จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์สะอาด ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษโดยการเตรียมแปลงปลูก เก็บเศษซากหอมแดงออกจากพื้นที่ปลูก เผาทำลาย ไถตากดิน 2 - 3 ครั้ง เพื่อลดประชากรเชื้อรา ใส่ปูนขาวตามค่าวิเคราะห์ดิน ไถพรวนปลูกหอมแดงระยะ 16 x 16 เซนติเมตร หัวพันธุ์แช่เชื้อไตรโคเดอร์มา 30 นาที หรือคลุกเชื้อไตรโคเดอร์มาก่อนปลูก หรือผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาสดกับปุ๋ยหมักอัตรา เชื้อ : ปุ๋ยหมัก 1: 300 ใส่รองพื้นก่อนปลูก 10 กก./ตร.ม. ฉีดพ่นสารคุมวัชพืชก่อนงอก คลุมฟางหลังปลูก หลังปลูก 15 วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 33 กก./ไร่ การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้สารชีวินทรีย์ คือ ไตรโคเดอร์มาพ่นทุก 7 วัน และสารเคมีตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร เก็บเกี่ยวอายุ 45 วัน ไม่พบเชื้อสาเหตุโรคหอมเลื้อย นำไปทำพันธุ์ได้ ผลิตหัวพันธุ์หอมแดงสะอาดได้ 186 ตัน นำไปปลูกหอมปีเพื่อผลิตหอมแดงคุณภาพได้ 620 ไร่ และได้แปลงต้นแบบผลิตหอมแดงคุณภาพ 17 ราย เมื่อนำมาผลิตหอมปี ทำให้ได้หอมมีคุณภาพได้ผลผลิตมากกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 21.12 เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 57 ไม่พบโรคหอมเลื้อย หัวหอมมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 11.14 การจัดการปุ๋ยโดยใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ลดได้ 2,425 บาท/ไร่ (79.6%) จังหวัดเพชรบูรณ์ลดได้ 1,173 บาท/ไร่ (49%) ขณะที่จังหวัดบุรีรัมย์ลดปุ๋ยเคมีได้ 200 บาท/ไร่ (14.36%) ผลการทดสอบการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินพบว่า วิธีทดสอบให้ผลผลิตหอมแดงแห้งสูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 26 18.8 และ 5.7 ในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และบุรีรัมย์ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   126_2558.pdf (ขนาด: 803.44 KB / ดาวน์โหลด: 6,166)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม