การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลิ้นจี่เฉพาะพื้นที่
#1
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลิ้นจี่เฉพาะพื้นที่
วีระ วรปิติรังสี, นิยม ไข่มุก, ปัญจพล สิริสุวรรณมา, ปฏิพัทธ์ ใจปิน, ศศิธร วรปิติรังสี, ศิริพร มะเจียว, อาทิตยา พงษ์ชัยสิทธิ์, มะนิต สารุณา, รพีพร ศรีสถิต, ชูศรี คำลี, สนอง จรินทร และชำนาญ กสิบาล
        
          ลิ้นจี่ (Litchi chinensis Sonn.) เป็นไม้ผลที่ปลูกมากทางภาคเหนือ พันธุ์ส่วนใหญ่คือพันธุ์ฮงฮวย โดยพบปัญหาสำคัญได้แก่ ปัญหาอาการเปลือกผลแห้งสีน้ำตาลของผลลิ้นจี่ จึงได้ศึกษาวิธีการลดความรุนแรงของอาการโดยการให้แคลเซียมแก่ต้นลิ้นจี่วิธีการต่างๆ ณ สวนเกษตรกรในเขต อ.แม่จัน และอ.เมือง จ.เชียงราย ระหว่างปี 2556 - 2558 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธีๆ ประกอบด้วย ชนิด วิธีการ และอัตราการให้แคลเซียมแก่ต้นลิ้นจี่พบว่า การให้แคลเซียม กรรมวิธีต่างๆ ไม่ทำให้ลิ้นจี่มีเปอร์เซ็นต์จำนวนผลที่มีอาการเปลือกผลแห้งสีน้ำตาลแตกต่างกันทางสถิติ แต่ก็มีแนวโน้มว่าการให้แคลเซียมในรูปของปูนขาว หรือปูนโดโลไมท์ทางดิน หลังตัดแต่งกิ่ง จะช่วยลดความรุนแรงของอาการเปลือกผลแห้งสีน้ำตาลในลิ้นจี่ได้มากกว่าการไม่ให้แคลเซียม โดยที่ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตไม่แตกต่างกัน

          สำหรับลิ้นจี่พันธุ์ นครพนม 1 นิยมปลูกในเขต จ.นครพนม และใกล้เคียง เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่าลิ้นจี่ทางภาคเหนือ จึงได้ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลิ้นจี่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยด าเนินการในแปลงเกษตรกร อ.เมือง จ.นครพนม ระหว่างปี 2554 - 2556 เปรียบเทียบวิธีการผลิต 2 กรรมวิธี คือ เทคโนโลยีแบบเกษตรกร และเทคโนโลยีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร พบว่าเทคโนโลยีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรจะทำให้ลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 มีผลผลิต และคุณภาพดีกว่าเทคโนโลยีแบบเกษตร


ไฟล์แนบ
.pdf   89_2558.pdf (ขนาด: 474.38 KB / ดาวน์โหลด: 1,396)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม