การปรับปรุงพันธุ์ส้มโอ
#1
การปรับปรุงพันธุ์ส้มโอ
ณรงค์ แดงเปี่ยม, ทวีป หลวงแก้ว, อนุรักษ์ สุขขารมย์, วราพงษ์ ภิระบรรณ์, เสงี่ยม แจ่มจำรูญ, นรินทร์ พูลเพิ่ม, ปัญญา ธยามานนท์ และนิพัทธ์ สุขวิบูลย์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 และสำนักผู้เชี่ยวชาญ

          โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ส้มโอ ประกอบด้วยงานวิจัย จำนวน 10 งานทดลอง คือ
1. การรวบรวม และศึกษาพันธุ์ส้มโอในสภาพแปลงปลูกเพื่อการใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรม
2. เปรียบเทียบพันธุ์ส้มโอที่คัดเลือกสายต้นจากการเพาะเมล็ดในเขตภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิจิตร
3. การเปรียบเทียบส้มโอท่าข่อยสายต้นคัดเลือกสายต้นจากการเพาะเมล็ด 
4. การเปรียบเทียบส้มโอท่าข่อยสายต้นคัดเลือกสายต้นจากการคัดเลือก
5. การคัดเลือกสายพันธุ์ส้มโอทองดีจากการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยการฉายรังสี
6. การคัดเลือกสายพันธุ์ส้มโอทองดีจากการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยการฉายรังสีในเขตภาคเหนือตอนล่าง
7. การคัดเลือกสายพันธุ์ส้มโอทองดีจากการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยการฉายรังสีในเขตภาคเหนือตอนบน
8. การคัดเลือกสายพันธุ์ส้มโอที่ได้จากการผสมพันธุ์
9. การเปรียบเทียบต้นตอที่เหมาะสมสำหรับส้มโอพันธุ์การค้า
10. การตอบสนองของพันธุ์ส้มโอ ต่อวิธีผสมผสานในการควบคุมการออกดอกเพื่อการผลิตนอกฤดู

          งานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ส้มโอ ได้มีการรวบรวมพันธุ์ส้มโอไว้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จ.พิจิตร มีสายพันธุ์ส้มโอจำนวน 73 สายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธุ์จากต่างประเทศ และสายพันธุ์ลูกผสม มีการเก็บข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ของต้น ใบ ดอก ผล เมล็ดส้มโอแต่ละพันธุ์ สายพันธุ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ทองดี ขาวแตงกวา ขาวน้ำผึ้ง ทช.32 ทช.23 Red Shaddock เป็นต้น

          ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ส้มโอเพื่อให้ได้ส้มโอสายพันธุ์ใหม่นั้น ได้ทำการเปรียบเทียบพันธุ์ส้มโอที่คัดเลือกสายต้นจากการเพาะเมล็ดในเขตภาคเหนือตอนล่าง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จากจำนวนสายพันธุ์ส้มโอที่นำมาเปรียบเทียบพันธุ์ 12 สายพันธุ์ พบว่าส้มโอ ทช.23 ทช.32 เป็นพันธุ์เนื้อสีน้ำผึ้งที่มีแนวโน้มดี ส่วนสายพันธุ์เนื้อสีแดง พันธุ์ทช.130 และทช.180 เป็นสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มดี ได้นำสายพันธุ์ส้มโอทั้ง 4 สายพันธุ์ไปทดสอบในแหล่งปลูกต่างๆ 3 แหล่ง คือ จ.เชียงราย จ.ชัยภูมิ จ.พิจิตร พบว่าพันธุ์ที่มีแนวโน้มเจริญเติบโตดีในแต่ละแหล่งปลูก คือ ทช.23 และทช.32 ส่วนการให้ผลผลิตจะได้รวบรวมข้อมูลการทดลองในระยะที่ 2 (พ.ศ.2559 - พ.ศ.2564) ต่อไป

          สำหรับส้มโอพันธุ์การค้าทองดี ได้ดำเนินการคัดเลือกพันธุ์จากการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยการฉายรังสีแกรมมา ผลการฉายรังสี ได้คัดเลือกส้มโอทองดีได้จำนวน 8 สายต้น ได้นำส้มโอทองดีทั้ง 8 สายต้นไปปลูกทดสอบใน 2 แหล่ง คือ จ.เชียงราย และจ.พิจิตร ผลการทดลองพบว่า ส้มโอทั้ง 2 แหล่งปลูกมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการให้ผลผลิตจะได้รวบรวมข้อมูลการทดลองในระยะที่ 2 (พ.ศ.2559 - พ.ศ.2564) ต่อไป

          การผสมพันธุ์ส้มโอเพื่อให้ได้ส้มโอพันธุ์ใหม่ มีการดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยการผสมพันธุ์ระหว่างส้มโอพันธุ์ต่างๆ จำนวน 16 คู่ผสม แล้วทำการคัดเลือกต้นส้มโอลูกผสมที่มีลักษณะดีตรงตำมเกณฑ์การคัดเลือกได้จำนวน 5 สายต้น เพื่อนำไปเปรียบเทียบสายต้นต่อไปในปี 2559

          สำหรับส้มโอพันธุ์ดีของ จ.พิจิตร คือ ส้มโอท่าข่อย ได้ดำเนินการเปรียบเทียบสายสายต้นส้มโอท่าข่อย จำนวน 7 สายต้น ที่คัดเลือกมาจากแหล่งปลูกส้มโอท่าข่อยหลายๆ แหล่งของ จ.พิจิตร ผลการทดลองพบว่า สายต้นส้มโอท่าข่อยสายต้นสระทอขา TK 4-5 มีการเจริญเติบโตดีที่สุด ส่วนการให้ผลผลิตจะได้รวบรวมข้อมูลการทดลองในระยะที่ 2 (พ.ศ.2559 - พ.ศ.2564) ต่อไป

          การศึกษาต้นตอที่เหมาะสมสำหรับส้มโอพันธุ์การค้า ได้การดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยการใช้ต้นตอ 7 ชนิด กับส้มโอทองดี ขาวน้ำผึ้ง ท่าข่อย เปรียบเทียบกับกิ่งตอน ผลการทดลองพบว่า ในด้านการเจริญเติบโตของส้มโอพันธุ์การค้าทั้ง 3 พันธุ์ ไม่มีความแตกต่างกันทางด้านสถิติส่วนในด้านผลผลิตพบว่า ส้มโอขาวแตงกวาบนต้นตอขาวใหญ่ให้ผลผลิตแตกต่างจากต้นตออื่นๆ ส้มโอทองดีบนต้นตอขาวพวง ให้ผลผลิตแตกต่างจากต้นตออื่นๆ และส้มโอท่าข่อยบนต้นตอเจ้าเสวยให้ผลผลิตแตกต่างจากต้นตออื่นๆ

          ส่วนในด้านคุณภาพผลผลิตของส้มโอพันธุ์การค้าบนต้นตอต่างๆ พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เช่น ในด้านขนาดผล เส้นรอบวงผล ความหวาน เป็นต้น

          ในด้านการผลิตส้มโอนอกฤดู จากการศึกษาการตอบสนองของพันธุ์ส้มโอต่อวิธีผสมผสานในการควบคุมการออกดอกเพื่อการผลิตนอกฤดู ได้ดำเนินการในสวนเกษตรกร จ.พิจิตร และแปลงทดลองภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ผลการทดลองพบว่า ส้มโอขาวแตงกวา ขาวน้ำผึ้ง และทองดี มีการตอบสนองต่อการบังคับการให้ผลผลิตนอกฤดูได้ดีเมื่อมีการใช้สำรพำโคลบิวทราโซลและการควั่นรัดกิ่ง แต่มีปัญหาที่พบคือ มีการหลุดร่วงของดอกและผลอ่อน ซึ่งจะต้องศึกษาทดลองเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   83_2558.pdf (ขนาด: 4.25 MB / ดาวน์โหลด: 3,312)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม