โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการเขตกรรมมันสำปะหลัง
#1
โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการเขตกรรมมันสำปะหลัง
วัลลีย์  อมรพล, ศุภกาญจน์  ล้วนมณี, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ชยันต์ ภักดีไทย, บุญเหลือ ศรีมุงคุณ, พินิจ กัลยาศิลปิน, สมฤทัย ตันเจริญ, อนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์, อภิชาต เมืองซอง, สมควร คล้องช้าง, อุดม วงศ์ชนะภัย, ศรีสุดา ทิพยรักษ์, รุ่งรวี บุญทั่ง, อัมราวรรณ ทิพยวัฒน์, ดาวรุ่ง คงเทียน, สุภาพร สุขโต, สุพรรณณี เป็งคจำ, ประสงค์ วงศ์ชนะภัย, จงรักษ์ จารุเนตร, ธจำรง เชื้อกิตติศักดิ์, วิทูร อมรพล, เกษม ชูสอน, มาลัย กล่อมแก้ว, เมธาพร  พุฒขาว, เชาวนาถ พฤทธิเทพ, นรีลักษณ์ วรรณสาย, ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, นิลุบล ทวีกุล, ศิวิไล ลาภบรรจบ, รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, เสาวรี บจำรุง, อนุศาสตร์ สุ่มมาตร, ปฏิมาภรณ์ จินจาคาม, วุฒิพล จันสระคู, วนิดา โนบรรเทา, วสันต์ วรรณจักร์, เหรียญทอง พานสายตา, อนันต์ ทองภู, สุรสิทธิ์ อรรถจารุสิทธิ์, พัชรินทร์ นามวง, กัญญรัตน์ จำปาทอง, วารีย์ ทองมี, สมชาย  บุญประดับ และกุลวิไล สุทธิลักษณวนิช
สถาบันวิจัยพืชร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์, ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, สำนักผู้เชี่ยวชาญ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสีคิ้ว, สำนักวิจัยและพัฒนาทางการเกษตรเขตที่ 5 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี

          ในปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังจำเป็นต้องมีการจัดการธาตุอาหารพืชที่มีประสิทธิภาพและมีความเฉพาะเจาะจงสำหรับพื้นที่ จึงได้ศึกษาการตอบสนองของมันสำปะหลังต่อการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในพื้นที่ดินทราย ดินร่วน ดินตื้น ดินด่าง และดินเหนียว  เพื่อใช้ในการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยแบบเฉพาะพื้นที่กับมันสำปะหลังให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  โดยทำการทดลองในดินทราย ดินร่วน ดินตื้น ดินด่าง และดินเหนียว  ฤดูฝนปี 2554/2555 - ปี 2557/2558 วางแผนการทดลองแบบ split plot3 ซ้ำปัจจัยหลักประกอบด้วย พันธุ์มันสำปะหลัง และปัจจัยรองคือ อัตราปุ๋ย 10 กรรมวิธี  ได้แก่ 1) 0-0-0 2 ) 0-8-16 3) 8-8-16 4) 16-8-16 5) 24-8-16 6) 16-0-16 7) 16-16-16 8) 16-8-0 9) 16-8-810) 16-8-24 กก.N-P2O5-K2O ต่อไร่

          ผลการทดลองพบว่า การใช้พันธุ์มันสำปะหลังทำให้ผลผลิตแตกต่างกันในกลุ่มดินทราย และดินร่วน ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่ระดับ 16 - 24 กก.N/ไร่ ไม่พบการตอบสนองของปุ๋ยฟอสเฟตตอบสนองต่อโพแทชที่ระดับ 16 - 24 กก.K2O/ไร่ กลุ่มดินตื้นพบการตอบสนองของปุ๋ยไนโตรเจนที่ระดับ 16 กก.N/ไร่ กลุ่มดินด่างตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่ระดับ 8 กก.N/ไร่ ฟอสเฟตที่ระดับ 8 กก.P2O5/ไร่ และโพแทชที่ระดับ 8 - 16 กก.K2O/ไร่ กลุ่มดินเหนียวพบตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่ระดับ 8 - 16 กก.N/ไร่ ฟอสเฟตที่ระดับ 4 - 8 กก.P2O5/ไร่ และโพแทชที่ระดับ 8 กก.K2O/ไร่ อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยเพื่อรักษาสมดุลของธาตุอาหารและให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนในกลุ่มดินต่าง ๆ ในการปลูกมันมันสำปะหลัง ในดินทราย และดินร่วน ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุ N-P2O5-K2O ต่อไร่ 16-24-8-16-24 กิโลกรัม ในดินตื้นควรใส่ปุ๋ย16-8-8 กิโลกรัม ในดินด่าง ควรใส่ปุ๋ย 8-8-8-16 กิโลกรัม และดินเหนียว ควรใส่ปุ๋ย 8-8-8กิโลกรัม

          การศึกษาการใช้ปัจจัยการผลิตต่อการผลิตของพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อให้ได้เทคโนโลยีวิธีการจัดการการผลิตสำหรับแนะนำเฉพาะพื้นที่ปลูกหลักของมันสำปะหลังพบว่า การให้น้ำที่ไม่เกิน 37.5%AWC ให้ผลผลิตหัวสดมันสำปะหลังและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงกว่าการให้น้ำที่มากกว่า โดยมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง9 มีการใช้น้ำที่สูงกว่าพันธุ์ระยอง 11 การใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตมันสำปะหลังในดินทรายปนร่วน และดินทราย ให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้งสูงสุดเมื่อใส่ปุ๋ย 75% ของ 16-8-16 กก.N-P2O5-K2O ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่แกลบ 1 ตันต่อไร่ และการใช้ปุ๋ย 16-8-16 กก./ไร่ N-P2O5-K2O ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตันต่อไร่ หรือร่วมกับการไถกลบต้นใบมันสำปะหลัง 3 ตันต่อไร่ หรือการปลูกพืชหมุนเวียนและแซม และการปลูกมันสำปะหลังต่อเนื่องทุกๆ ปีสามารถรักษาระดับผลผลิตและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินการใช้วัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิตมันสำปะหลังยังไม่สามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้อย่างเด่นชัด  แต่การให้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการให้น้ำทำให้มันสำปะหลังสามารถให้ผลผลิตได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่นๆ การใส่ปุ๋ยเคมี 15-7-18 อัตรจา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อการผลิตมันสำปะหลังหลังการให้ผลผลิตสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี และพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี   ส่วนวิธีการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนปลูก ให้ท่อนพันธุ์มีการงอกเร็วขึ้นและมีเปอร์เซ็นต์ความงอกเพิ่มขึ้น โดยการแช่ด้วยยูเรีย 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ช่วยลดการใช้ไนโตรเจนได้ 20% ของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และให้ผลผลิตหัวมันสดเพิ่มขึ้นจากการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว 8.98 % ขณะที่การใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ทให้ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ 5% ส่วนการปลูกมันสำปะหลังแซมด้วยถั่วพุ่มโดยปลูกถั่วพุ่มหลังจากปลูกมันสำปะหลัง 1 เดือน ไม่ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงแตกต่างกับมันสำปะหลังระบบมันสำปะหลังเดี่ยวแต่อย่างใด ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนสูงสุด 8 กก./ไร่ ในขณะมันสำปะหลังระบบมันสำปะหลังเดี่ยวตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนสูงสุด 16 กก./ไร่ ส่วน Ca และ Mg จากการใส่โดโลไมท์ มีแนวโน้มทำให้มันสำปะหลังมีความสูงเพิ่มขึ้นทั้งสองระบบปลูกพืช และมี % แป้งเพิ่มขึ้นเฉพาะระบบมันสำปะหลังเดี่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการไม่ใส่และผลของสารอมีทรินต่อผลผลิตและปริมาณแป้งของมันสำปะหลังเมื่อได้รับสารที่อายุต่างๆ พบว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 เมื่อได้รับสารอมีทรินที่อัตรา 6.25 และ 62.5 กรัมต่อลิตร ในช่วงอายุตั้งแต่ 14 - 60 วัน หลังปลูกให้ผลผลิตหัวสดลดลง 45 % และสารอมีทริน ไม่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลัง

          การศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวของมันสำปะหลังที่มีต่อการปนเปื้อนโลหะหนัก ในผลผลิตหัวสดและมันเส้นพบว่า อายุเก็บเกี่ยว 8 10 12 14 16 และ 18 เดือนปริมาณโลหะหนักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บเกี่ยวที่เพิ่มขึ้นและปริมาณโลหะหนักที่พบในมันเส้นมีค่ามากกว่าหัวมันสดสำหรับปริมาณสารหนู และแคดเมียม ในหัวมันสด และมันเส้น พบปริมาณต่ำกว่าค่ามาตรฐานทุกอายุการเก็บเกี่ยว และการดูดซับประมาณโลหะหนักแต่ละพันธุ์ในหัวมันสดและผลิตภัณฑ์มันเส้นพบว่า มันสำปะหลังแต่ละพันธุ์มีปริมาณสารหนู (As) และแคดเมียม (Cd) ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน โลหะหนักที่มีค่าเกินมาตรฐาน คือ สารตะกั่ว (Pb) ซึ่งมาตรฐานที่สาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนด ในพืชไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งมันสำปะหลังแต่ละพันธุ์มีปริมาณแตกต่างกัน พันธุ์ระยอง 72 มีปริมาณสารตะกั่ว (Pb) ในหัวมันสดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่เมื่อทำให้แห้งเป็นมันเส้นพบปริมาณสารตะกั่วเกินค่ามาตรฐาน ส่วนปริมาณสารตะกั่ว (Pb) มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 เมื่อปลูกในแปลงที่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินค่อนข้างสูง และมี pH อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้งในหัวมันสดและมันเส้นและเมื่อปลูกมันสำปะหลังในดินที่มีอินทรียวัตถุค่อนข้างต่ำ pH อยู่ระดับ 5.8 - 6.1 มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 มีปริมาณสารตะกั่ว (Pb) ในหัวมันสดและมันเส้นต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นแนวทางป้องกันการปนเปื้อนธาตุโลหะในมันสำปะหลัง ทำได้โดยการปรับ pH ของดินให้มีความเป็นกรดน้อยลง และเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน เพราะมันสำปะหลังดูดดึงปริมาณโลหะหนักแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดดิน ค่า pH และอินทรียวัตถุในดิน เมื่อค่า pH ของดินเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณโลหะหนักละลายออกมาสู่สารละลายดินน้อยลง ทำให้พืชดูดดึงตะกั่วลดลง ดังนั้นปริมาณโลหะหนักที่สะสมในพืชจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น หากดินนั้นมี pH เป็นกรด และมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ


ไฟล์แนบ
.pdf   42_2558.pdf (ขนาด: 4.1 MB / ดาวน์โหลด: 1,805)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม