การวิจัยและพัฒนาอ้อยคั้นน้ำ
#1
การวิจัยและพัฒนาอ้อยคั้นน้้า
ดารารัตน์ มณีจันทร์, วาสนา วันดี, ปิยธิดา อินทร์สุข, จารินี จันทร์คำ, ณรงค์ ย้อนใจทัน, สุจิตรา พิกุลทอง, กนกวรรณ ฟักอ่อน, เบ็ญจมาตร รัศมีรณชัยอัมราวรรณ, ทิพย์วัฒน์ และสุคนธ์ วงศ์ชนะ

          การวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยคั้นน้ำระหว่างปี 2549 - 2553 ได้คัดเลือกโคลนดีเด่นจากการผสมเปิด โดยมีแม่เป็นอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50, พันธุ์เมอริชาดเบอร์ 6, JU38 และจากคู่ผสม JU38x สพ50 และ สพ50 x JU6 จำนวน 35 โคลน คือ โคลน UTj10-01, UTj10-02, UTj10-03, UTj10-05, UTj10-06, UTj10-07, UTj10-08, UTj10-09, UTj10-10, UTj10-11, UTj10-12, UTj10-13, UTj10-14, UTj10-15, UTj10-16, UTj10-17, UTj10-18, UTj10- 19, UTj10-20,UTj10-21, UTj10-22, UTj10-23, UTj10-24, UTj10-25, UTj10-26, UTj10-27, UTj10-28, UTj10-29, UTj10-30, UTj10-31, UTj10-32, UTj10-33, UTj10-34, UTj10-35 และ UTj10-36 จากนั้นจึงนำมาศึกษาการเปรียบเทียบเบื้องต้น ระหว่างปี 2554 - 2557 โดยมีอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี แล้วจึงนำโคลนอ้อยที่ให้ผลผลิตและคุณภาพดีจำนวน 34 โคลน มาทำการเปรียบเทียบมาตรฐาน ระหว่างปี 2555 - 2558 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ซึ่งพบว่าโคลนอ้อยดีเด่นที่ให้ทั้งผลผลิตและคุณภาพน้ำคั้นดีเช่นเดืยวและสูงกว่าอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 มีจำนวน 6 โคลนพันธุ์ ระหว่างนั้นได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบท้องถิ่น ในปี 2556 - 2558 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา จากผลการศึกษาดังกล่าวพบว่าอ้อยพันธุ์ดีเด่นทั้ง 6 โคลนพันธุ์ให้ผลผลิตและคุณภาพน้ำคั้นเป็นที่น่าพอใจจึงนำไปศึกษาในขั้นการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ระหว่างปี 2557 - 2558 ที่ไร่เกษตรกรจังหวัดราชบุรี จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสงขลา ซึ่งพบว่าอ้อยโคลนพันธุ์ UTj10-2 UTj10-3 และ UTj10-19 ให้ผลผลิตและปริมาตรน้ำอ้อยสูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 อีกทั้งยังให้สีน้ำอ้อยและรสชาติน้ำอ้อยคุณภาพดีเช่นเดียวกับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 อย่างไรก็ตามควรศึกษาในไร่เกษตรกรพื้นที่แหล่งปลูกอื่นเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการรับรองพันธุ์ต่อไป

          สำหรับการศึกษาข้อมูลจำเพาะในเรื่องอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับอ้อยคั้นน้ำชุดปี 2553 นั้น พบว่าอ้อยโคลนดีเด่น 6 โคลน กับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ที่ใส่ปุ๋ยต่างกัน 5 อัตรา ในอ้อยปลูกและในอ้อยตอไม่มีปฏิสัมพันธ์กันทั้งในดำนผลผลิตและปริมาตรน้ำคั้น แต่พบความแตกต่างของผลผลิตและปริมาตรน้ำระหว่างโคลนดีเด่นและการใส่ปุ๋ยอัตราต่างๆ โดยในอ้อยปลูก อ้อยโคลนดีเด่น UTj10-3UTj10-15 และ UTj10-19 ให้ผลผลิตและปริมาตรน้ำอ้อยสูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ส่วนการใส่ปุ๋ยในอัตราต่างๆ นั้น พบความแตกต่างในอ้อยตอ การใส่ปุ๋ย N ตามค่าวิเคราะห์ดิน P ตามค่าวิเคราะห์ดิน K ตามค่าวิเคราะห์ดิน (12-3-6) และ 1.5N-Pตามค่าวิเคราะห์ดิน-Kตามค่าวิเคราะห์ดิน (18-3-6) ให้ผลผลิตสูงกว่าการใส่ปุ๋ยอัตราอื่นๆ ในขณะที่การใส่ปุ๋ย N ตามค่าวิเคราะห์ดิน- P ตามค่าวิเคราะห์ดิน– K ตามค่าวิเคราะห์ดินและการไม่ใส่ปุ๋ย จะให้รสชาติน้ำอ้อยดีกว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราอื่นๆ ส่วน การศึกษาและสำรวจการเข้าทำลายของหนอนกออ้อย ในอ้อยโคลนดีเด่น 6 โคลนพบว่า หนอนกอเข้าทำลายมากในระยะอ้อยแตกกอ และระยะอ้อยย่างปล้อง และลดน้อยลงในระยะอ้อยเป็นลำตามลำดับ และพบหนอนกอที่เข้าทำลาย 2 ชนิด ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก และหนอนกอสีขาว ส่วนผลการประเมินความต้านทานต่อโรคบนอ้อยลูกผสมสำหรับคั้นน้ำ จำนวน 6 โคลน เปรียบเทียบกับพันธุ์ LK92-11 และ Marcos ทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอ พบว่าอ้อยปลูกเริ่มแสดงอาการแส้ดำเมื่ออายุ 4 เดือน พันธุ์อ้อยทดสอบทั้งหมดยกเว้นโคลน 7 และ 2 ต้านทานและค่อนข้างต้านทานต่อโรคแส้ดำตามลำดับ  


ไฟล์แนบ
.pdf   35_2558.pdf (ขนาด: 938.46 KB / ดาวน์โหลด: 1,477)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม