10-12-2016, 01:52 PM
การคัดเลือกสารฆ่าแมลงและสารสกัดจากสะเดาในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ Thrips tabaci Lindeman และแมลงหวี่ขาว Bemisia tabaci Gennadius
อุราพร หนูนารถ, สมรวย รวมชัยอภิกุล, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, นลินา พรมเกษา และรัตนา นชะพงศ์
กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
อุราพร หนูนารถ, สมรวย รวมชัยอภิกุล, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, นลินา พรมเกษา และรัตนา นชะพงศ์
กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวในหน่อไม้ฝรั่ง วัตถุประสงค์เพื่อทดลองหาสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ และอัตราที่เหมาะสมเพื่อแนะนำเกษตรกรในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวในหน่อไม้ฝรั่ง ดำเนินการทดลองในแปลหน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2556 ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2556 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มี 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสารpymetrozine 10%WP อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีที่ 2 พ่นสาร spiromosifen 24%SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีที่ 3 พ่นสาร buprofezin 25%WP อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีที่ 4 พ่นสารdinotefuran 10%WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีที่ 5 พ่นสาร petroleum spray oil 83.9%EC อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีที่ 6 พ่นสาร petroleum spray oil 83.9%EC + pymetrozine 10%WP อัตรา 100 + 5 มิลลิลิตร,กรัม/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีที่ 7 ไม่พ่นสาร ทำการตรวจนับแมลงหวี่ขาวก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสารทุก 7 วัน พื้นที่แปลงย่อยขนาด 5 x 6 เมตร จากการทดลองพบว่าทุกกรรมวิธีที่พ่นสารฆ่าแมลง พบแมลงหวี่ขาวน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารแสดงให้เห็นว่าสารที่ทดลองมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงหวี่ขาวได้ดีไม่แตกต่างกัน