การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมในจังหวัดแพร่
#1
การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมในจังหวัดแพร่
สุทธินี  เจริญคิด, พรรณพิมล สุริยะพรหมชัย, ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์, ณัฐนัย ตั้งมั่นวรกูล และสากล มีสุข
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที 1

          การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมในจังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตพริกแบบผสมผสานที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เกษตรกรและให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ดำเนินการทดลองที่บ้านทุ่งน้าว ตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ตั้งแต่ตุลาคม 2551-กันยายน 2554 รวม 3 ปี เกษตรกร 9 ราย เปรียบเทียบระหว่างวิธีแนะนำ คือ การใช้สารเคมีแบบสลับ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า การจัดการดินก่อนปลูก การจัดการวัชพืช การเพิ่มระยะปลูก ผลการทดลองพบว่าในปี 1 (2552) วิธีแนะนำให้ผลผลิตพริก 3,210 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกร 609 กิโลกรัม/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 23 ทำให้มีรายได้สุทธิสูงกว่าวิธีเกษตรกร 7,314 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.1 เกษตรกรยอมรับการใช้สารเคมีแบบสลับ และการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ในปี 2 (2553) วิธีแนะนำให้ผลผลิตพริก 2,936 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกร 174 กิโลกรัม/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.3 ทำให้มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 2138 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 8 เกษตรกรยอมรับการใช้สารเคมีแบบสลับ และการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า  ส่วนในปี 3 (2554) วิธีแนะนำให้ผลผลิตพริกเฉลี่ย 1,958.83 กิโลกรัม/ไร่ ต่ำกว่าวิธีเกษตรกร 1,710.3 กิโลกรัม/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21 ทำให้มีรายได้สุทธิ 11,789.33 บาทต่อไร่ ต่ำกว่าวิธีเกษตรกร 7,198 บาท คิดเป็นร้อยละ 37 เกษตรกรยอมรับการใช้สารเคมีแบบสลับและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ส่วนเทคโนโลยีที่เกษตรกรไม่ยอมรับ คือการจัดการดินก่อนปลูก การจัดการวัชพืชด้วยการใช้พลาสติกคลุมแปลง และการเพิ่มระยะปลูก ดังนั้นเทคโนโลยีการผลิตพริกที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแพร่และเกษตรกรยอมรับคือ การป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าด้วยการราดเชื้อราไตรโคเดอร์มารองก้นหลุมก่อนปลูกพริก และราดซ้ำหลังปลูก 30 วัน และการพ่นสารเคมีแบบสลับชนิดสารเคมี
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม