10-05-2016, 02:54 PM
การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน
จิราลักษณ์ ภูมิไธสง, พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, บรรณพิชญ์ สัมฤทธิ์, ศรีสุดา รื่นเจริญ, ชัชธนพร เกื้อหนุน, รัฐกร สืบคำ และพัชรินทร์ นามวงษ์
ศูนย์วิจัยพืชไรํชัยนาท และกลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
จิราลักษณ์ ภูมิไธสง, พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, บรรณพิชญ์ สัมฤทธิ์, ศรีสุดา รื่นเจริญ, ชัชธนพร เกื้อหนุน, รัฐกร สืบคำ และพัชรินทร์ นามวงษ์
ศูนย์วิจัยพืชไรํชัยนาท และกลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของข้าวโพดฝักอ่อนในพื้นที่ดินเหนียว-ร่วนเหนียวพบว่า การใส่ปุ๋ยเคคมีอัตรา 7.5-5-5, 15-5-5, 22.5-5-5, 15-0-5, 15-2.5-5, 15-5-0 15-52.5 และ 15-5-7.5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) ให้น้ำหนักฝักอ่อนทั้งเปลือก และน้ำหนักฝีกอ่อนปอกเปลือกไม่แตกต่างทางสถิติ แต่สูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 0-5-5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยพบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 22.5-5-5 และ 15-5-5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกและน้ำหนักฝักปอกเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 7.5-5-5 และ 0-5-5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) และผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก และปอกเปลือกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงกว่า 1.5 เท่า ตามค่าวิเคราะห์ไนโตรเจน 22.5-5-5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) ขณะที่การตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ให้ค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ
การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของข้าวโพดฝักอ่อนในพื้นที่ดินร่วน - ร่วนปนทรายพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และดพแทสเซียม ที่ระดับสูงขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตจำนวนฝัก น้ำหนักฝักอ่อนทั้งเปลือก น้ำหนักฝักอ่อนปอกเปลือกสูงสุด แต่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในอัตรา 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน ส่งผลให้ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนลดลงอย่างเห็นได้ชัด การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และฟอสฟอรัสให้ค่าไม่แตกต่างทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมที่ระดับ 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ K 15-5-15 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ให้จำนวนฝักต่อไร่ น้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือกลดลงจากการให้ปุ๋ย 1 เท่าตามค่าวิเคราะห์ดิน 15-4-10 กก.N-P2O5-K2O/ไร่
การใช้ปุ๋ยอย่างผสมผสานในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเหนียว-ร่วนเหนียวพบว่า การใส่หรือไม่ใส่เศษซากพืช และการใส่ปุ๋ยทุกอัตรา ให้ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1,829 - 1,993 และ 1,801-2,025 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมทั้งหมดในต้นและเปลือกของข้าวโพดฝักอ่อน พบว่าทุกกรรมวิธีทั้งการใส่หรือไม่ใส่เศษซากพืช และการใส่ปุ๋ยทุกอัตราไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยมูลวัวมีปุ๋ยมูลวัวมีปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดในฝักไม่แตกต่างทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ แต่สูงกว่าการใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน+กากตะกอนอ้อย และการใส่หรือไม่ใส่เศษซากพืช มีปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดในฝักไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่กรรมวิธีการใส่หรือไม่ใส่ซาก และการใส่ปุ๋ยทุกอัตรา มีปริมาณไนโตรเจน และมีปริมาณฟอสฟอรัสไม่แตกต่างกันทางสถิติ
การใช้ปุ๋ยอย่างผสมผสานในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมในพื้นที่ดินร่วน-ร่วนปนทรายพบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพีจีพีอาร์กับการจัดการปุ๋ยแบบต่างๆ แต่การใส่ 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่่าวิเคราะห์ดินร่วมกับน้ำล้างคอกวัว ทำให้ข้าโพดเจริญเติมโต ผลผลิตฝัก น้ำหนักแห้งตอซัง ปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และดพแทสเซียมในฝัก ตอซัง และเปลือกไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ดังนั้น การใส่ 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับน้ำล้างคอกวัวนม จึงเป็นการลดการใช้ไนดตรเจนลง ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (VCR) จากการใช้ปุ๋ยในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนสูงสุด
การให้น้ำในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเหนียว-ร่วนเหนียว พบว่า ปีที่ 1 และปีที่ 2 ไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยในส่วนของน้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือก โดยปีที่ 1 การให้น้ำทุกอัตรา ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกและน้ำหนักปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างทางสถิติในกรรมวิธีการใส่ปุ๋ย โดยการใส่ปุ๋ย 15-5-5 ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ย 7.5-2.5-2.5 และการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง แต่การใส่ปุ๋ย 15-5-5 ให้น้ำหนักฝักปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใส่ปุ๋ย 7.5-2.5-2.5 และ 3.75-5-5 ร่วม 3.75-0-0 ปีที่ 2 การใส่ปุ๋ย 3.75-7.5-7.5 ร่วม 3.75-0-0 ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกสูงกว่า 7.5-2.5-2.5 และการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ แต่การใส่ปุ๋ย 3.75-7.5-7.5 ร่วม 3.75-0-0 และ 15-5-5 ให้น้ำหนักปอกเปลือกสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ ประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานของพืชพบว่า ไม่มีปฏิกริยาสัมพันธ์ระหว่างการให้น้ำและอัตราปุ๋ย การให้น้ำทุกอัตราให้ประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ย 15-5-5 และ 3.75-7.5-7.5 ร่วม 3.75-0-0 มีประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ
การใช้ประโยชน์จากเศษซากข้าวโพดต่อข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกตาม ผลของการปลุกข้าวโพดฝักอ่อนตามของ crop 2 และ crop 3 พบว่า ไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างการใส่ซาก และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ข้าวโพดฝักอ่อน crop ที่ 2 เมื่อมีการใส่หรือไม่ใส่ซากข้าวโพดฝักอ่อน มีน้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 20 - 40 กิโลกรัมต่อไร่ มีน้ำหนักฝักอ่อนทั้งเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ประมาณ 33 - 42 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ น้ำหนักฝักปอกเปลือกให้ผลในทำนองเดียวกับน้ำหนักทั้งเปลือก โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ประมาณ 31-35 เปอร์เซ็นต์
ระบบการผลิตและการตลาดข้าวโพดฝักอ่อนในภาคกลางและภาคตะวันตก จากการสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนจำนวน 87 ราย แยกเป็นเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 54 ราย จังหวัดราชบุรีจำนวน 19 ราย และจังหวัดนครปฐมจำนวน 14 ราย ผลการสัมภาษณ์พบว่า การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร ส่วนใหญ่ใช้ประสบการณ์ในการปลูก ไม่เคยติดต่อหน่วยงานราชการเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนและไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนครั้งที่ 1 ไถเตรียมดินและยกร่องปลูก ระยะปลูก 50 x 30-35 เซนติเมตร ปลุกแบบสลับฟันปลา หยอดเมล็ด 3-4 เมล็ดต่อหลุม ไม่มีการถอนแยกปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นครั้งที่ 2 - 4 ไม่มีการไถพรวน ใช้วิธีการยกร่องน้ำของครั้งที่ผ่านมาเป็นร่องปลูก และใช้ร่องปลูกเป็นร่องน้ำสลับกันไป พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่เกษตรกรใช้ปลุกคือ พีเอ 271 เอสจี 17 และพันธุ์ซีพี 468 การให้น้ำข้าวโพดฝักอ่อนให้แบบร่องปลูก (flowrow) และสปริงเกอร์ใส่ปุ๋ยโดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อข้าวโพดมีอายุ 15 - 20 วันหลังปลุก และครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 40 - 45 วัน หรือช่วงก่อนออกช่อดอกตัวผู้ ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1,000 - 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตปอกเปลือกเฉลี่ยระหว่าง 184 - 400 กิโลกรัมต่อไร่ การจำหน่ายข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร มี 3 รุปแบบ คือ ฝักอ่อนทั้งเปลือก ฝักอ่อนปอกเปลือกหรือกรีดเปลือยและฝักอ่อนกรีดฝักทำหัวโต จากการสำรวจทัศนคติเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนคุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากใช้ต้นสดสำหรับเลี้ยงโคนม และมีการใช้สารเคมีน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่นแต่มีเกษตรกรจำนวน 18.4 เปอร์เซ็นต์ ที่ให้ความเห็นว่า การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน แต่ไม่ทราบว่าจะปลูกพืชอะไร และใช้ผลพลอยได้ต้นสดสำหรับเลี้ยงโคนม ส่วนเกษตรกรอีก 22.9 เปอร์เซ้นต์ ให้ความเห็นว่า ไม่แน่ใจว่าคุ้มทุนหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยคิดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิต และเป็นเกษตรกรรายใหม่เพิ่งปลูกเป็นครั้งแรก
การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของข้าวโพดฝักอ่อนในพื้นที่ดินร่วน - ร่วนปนทรายพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และดพแทสเซียม ที่ระดับสูงขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตจำนวนฝัก น้ำหนักฝักอ่อนทั้งเปลือก น้ำหนักฝักอ่อนปอกเปลือกสูงสุด แต่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในอัตรา 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน ส่งผลให้ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนลดลงอย่างเห็นได้ชัด การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และฟอสฟอรัสให้ค่าไม่แตกต่างทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมที่ระดับ 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ K 15-5-15 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ให้จำนวนฝักต่อไร่ น้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือกลดลงจากการให้ปุ๋ย 1 เท่าตามค่าวิเคราะห์ดิน 15-4-10 กก.N-P2O5-K2O/ไร่
การใช้ปุ๋ยอย่างผสมผสานในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเหนียว-ร่วนเหนียวพบว่า การใส่หรือไม่ใส่เศษซากพืช และการใส่ปุ๋ยทุกอัตรา ให้ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1,829 - 1,993 และ 1,801-2,025 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมทั้งหมดในต้นและเปลือกของข้าวโพดฝักอ่อน พบว่าทุกกรรมวิธีทั้งการใส่หรือไม่ใส่เศษซากพืช และการใส่ปุ๋ยทุกอัตราไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยมูลวัวมีปุ๋ยมูลวัวมีปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดในฝักไม่แตกต่างทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ แต่สูงกว่าการใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน+กากตะกอนอ้อย และการใส่หรือไม่ใส่เศษซากพืช มีปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดในฝักไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่กรรมวิธีการใส่หรือไม่ใส่ซาก และการใส่ปุ๋ยทุกอัตรา มีปริมาณไนโตรเจน และมีปริมาณฟอสฟอรัสไม่แตกต่างกันทางสถิติ
การใช้ปุ๋ยอย่างผสมผสานในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมในพื้นที่ดินร่วน-ร่วนปนทรายพบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพีจีพีอาร์กับการจัดการปุ๋ยแบบต่างๆ แต่การใส่ 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่่าวิเคราะห์ดินร่วมกับน้ำล้างคอกวัว ทำให้ข้าโพดเจริญเติมโต ผลผลิตฝัก น้ำหนักแห้งตอซัง ปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และดพแทสเซียมในฝัก ตอซัง และเปลือกไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ดังนั้น การใส่ 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับน้ำล้างคอกวัวนม จึงเป็นการลดการใช้ไนดตรเจนลง ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (VCR) จากการใช้ปุ๋ยในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนสูงสุด
การให้น้ำในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเหนียว-ร่วนเหนียว พบว่า ปีที่ 1 และปีที่ 2 ไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยในส่วนของน้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือก โดยปีที่ 1 การให้น้ำทุกอัตรา ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกและน้ำหนักปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างทางสถิติในกรรมวิธีการใส่ปุ๋ย โดยการใส่ปุ๋ย 15-5-5 ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ย 7.5-2.5-2.5 และการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง แต่การใส่ปุ๋ย 15-5-5 ให้น้ำหนักฝักปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใส่ปุ๋ย 7.5-2.5-2.5 และ 3.75-5-5 ร่วม 3.75-0-0 ปีที่ 2 การใส่ปุ๋ย 3.75-7.5-7.5 ร่วม 3.75-0-0 ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกสูงกว่า 7.5-2.5-2.5 และการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ แต่การใส่ปุ๋ย 3.75-7.5-7.5 ร่วม 3.75-0-0 และ 15-5-5 ให้น้ำหนักปอกเปลือกสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ ประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานของพืชพบว่า ไม่มีปฏิกริยาสัมพันธ์ระหว่างการให้น้ำและอัตราปุ๋ย การให้น้ำทุกอัตราให้ประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ย 15-5-5 และ 3.75-7.5-7.5 ร่วม 3.75-0-0 มีประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ
การใช้ประโยชน์จากเศษซากข้าวโพดต่อข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกตาม ผลของการปลุกข้าวโพดฝักอ่อนตามของ crop 2 และ crop 3 พบว่า ไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างการใส่ซาก และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ข้าวโพดฝักอ่อน crop ที่ 2 เมื่อมีการใส่หรือไม่ใส่ซากข้าวโพดฝักอ่อน มีน้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 20 - 40 กิโลกรัมต่อไร่ มีน้ำหนักฝักอ่อนทั้งเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ประมาณ 33 - 42 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ น้ำหนักฝักปอกเปลือกให้ผลในทำนองเดียวกับน้ำหนักทั้งเปลือก โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ประมาณ 31-35 เปอร์เซ็นต์
ระบบการผลิตและการตลาดข้าวโพดฝักอ่อนในภาคกลางและภาคตะวันตก จากการสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนจำนวน 87 ราย แยกเป็นเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 54 ราย จังหวัดราชบุรีจำนวน 19 ราย และจังหวัดนครปฐมจำนวน 14 ราย ผลการสัมภาษณ์พบว่า การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร ส่วนใหญ่ใช้ประสบการณ์ในการปลูก ไม่เคยติดต่อหน่วยงานราชการเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนและไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนครั้งที่ 1 ไถเตรียมดินและยกร่องปลูก ระยะปลูก 50 x 30-35 เซนติเมตร ปลุกแบบสลับฟันปลา หยอดเมล็ด 3-4 เมล็ดต่อหลุม ไม่มีการถอนแยกปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นครั้งที่ 2 - 4 ไม่มีการไถพรวน ใช้วิธีการยกร่องน้ำของครั้งที่ผ่านมาเป็นร่องปลูก และใช้ร่องปลูกเป็นร่องน้ำสลับกันไป พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่เกษตรกรใช้ปลุกคือ พีเอ 271 เอสจี 17 และพันธุ์ซีพี 468 การให้น้ำข้าวโพดฝักอ่อนให้แบบร่องปลูก (flowrow) และสปริงเกอร์ใส่ปุ๋ยโดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อข้าวโพดมีอายุ 15 - 20 วันหลังปลุก และครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 40 - 45 วัน หรือช่วงก่อนออกช่อดอกตัวผู้ ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1,000 - 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตปอกเปลือกเฉลี่ยระหว่าง 184 - 400 กิโลกรัมต่อไร่ การจำหน่ายข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร มี 3 รุปแบบ คือ ฝักอ่อนทั้งเปลือก ฝักอ่อนปอกเปลือกหรือกรีดเปลือยและฝักอ่อนกรีดฝักทำหัวโต จากการสำรวจทัศนคติเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนคุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากใช้ต้นสดสำหรับเลี้ยงโคนม และมีการใช้สารเคมีน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่นแต่มีเกษตรกรจำนวน 18.4 เปอร์เซ็นต์ ที่ให้ความเห็นว่า การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน แต่ไม่ทราบว่าจะปลูกพืชอะไร และใช้ผลพลอยได้ต้นสดสำหรับเลี้ยงโคนม ส่วนเกษตรกรอีก 22.9 เปอร์เซ้นต์ ให้ความเห็นว่า ไม่แน่ใจว่าคุ้มทุนหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยคิดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิต และเป็นเกษตรกรรายใหม่เพิ่งปลูกเป็นครั้งแรก