เฝ้าระวังการแพร่กระจายของ Conyza canadensis (L.) Cronq.ในประเทศไทย
#1
เฝ้าระวังการแพร่กระจายของ Conyza canadensis (L.) Cronq.ในประเทศไทย
จันทร์เพ็ญ ประคองวงศ์, จรัญญา ปิ่นสุภา, เบญจมาภรณ์ ลิ้มประเสริฐ และมัตติกา ทองรส
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, สำนักการเกษตรอำเภอดำเนินสะดวก และสำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6

          การสำรวจติดตามการเกิดขึ้นหรือการไม่ปรากฏของ Conyza canadensis (L.) Cronq. ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ถึงกันยายน 2552 พื้นที่สำรวจนั้นมีทั้งพื้นที่ทำการเกษตร เช่น แปลงปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกเมืองหนาว กับพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการเกษตรของประเทศไทยโดยแบ่งเป็น 6 ภาค คือ ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน ลำพูน แพร่ และอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ที่จังหวัดเลย หนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และอุบลราชธานี ภาคตะวันตก : จังหวัดตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ภาคกลาง : จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ภาคตะวันออก : จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ : จังหวัดระนอง สุราษฏร์ธานี และภูเก็ต จากการสำรวจพบจ้อล่อ Conyza sumantrensis (Retz.) Walker ในพื้นที่ทั้ง 6 ภาคที่สำรวจ ส่วนใหญ่พบกระจัดกระจายอยู่ในที่ไม่ได้ทำการเกษตร สำหรับพื้นที่ทำการเกษตรจะพบในแปลงปลูกพืชไร่ พืชผัก และพืชอุตสาหกรรม เช่น สวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่พบจ้อล่อจะมีความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้พบตามข้างทางและและบริเวณรอบนอกของส่วนป่าและที่สำคัญคือ ไม่พบการแพร่กระจายของ Conyza canadensis (L.) Cronq


ไฟล์แนบ
.pdf   1238_2552.pdf (ขนาด: 189.94 KB / ดาวน์โหลด: 1,290)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม