สำรวจอาการเปลือกแห้งของยางพาราในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบน
#1
สำรวจอาการเปลือกแห้งของยางพาราในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบน
อารมณ์ โรจน์สุจิตร, สโรชา กรีธาพล, สุเมธ พฤกษวรุณ, ปราโมทย์ คำพุทธ และประภา พงษ์อุทธา

          การสำรวจอาการเปลือกแห้งของยางพาราในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบน เพื่อทราบสถานการณ์ความรุนแรงในปัจจุบัน ดำเนินการสุ่มสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากสวนยางเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ในปีงบประมาณ 2551 จำนวน 909 สวน พบว่าสวนยางร้อยละ 96.6 มีต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งร้อยละ 0 - 77 หรือมีต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้ง เฉลี่ยร้อยละ 15 สวนยางส่วนใหญ่ร้อยละ 38 มีต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งร้อยละ 1 - 10 และรองลงมาร้อยละ 34 มีต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งร้อยละ 11 - 20 อาการเปลือกแห้งที่พบจะเป็นแบบกระจายทั่วสวน จากการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่คาดว่ามีผลต่อการเกิดอาการเปลือกแห้ง ในภาพรวมของพื้นที่ปลูกภาคใต้ตอนบน พบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอาการเปลือกแห้ง คือ 1) อายุของยางพบว่า เมื่ออายุของยางมากขึ้น ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งมากขึ้น 2) หน้ากรีดพบว่า หน้ากรีดที่กรีดซ้ำบนเปลือกงอกใหม่มีโอกาสแสดงอาการเปลือกแห้งมากกว่าหน้ากรีดที่เป็นเปลือกแรก 3) ระบบกรีดพบว่า การกรีดถี่กรีด 3 วันเว้น 1 วันมีโอกาสแสดงอาการเปลือกแห้งมากกว่าการกรีดถี่ที่ 2 วันเว้น 1 วัน ส่วนปัจจัยที่วิเคราะห์แล้วและพบว่าไม่มีอิทธิพลต่อการแสดงอาการเปลือกแห้งคือ ชนิดของดิน (ดินร่วน, ดินเหนยีว และดินร่วนทราย) และพันธุ์ยางโดยจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบอาการเปลือกแห้งของยางพันธุ์ RRIM 600 กับ BPM 24 พบว่า ในภาพรวมทั้งพื้นที่ปลูกของภาคใต้ตอนบน และในระดับพื้นที่ปลูกแยกเป็นจังหวัด พบว่าทั้ง 2 พันธุ์นี้มีโอกาสแสดงอาการเปลือกแห้งได้ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเฉพาะในพื้นที่จังหวัดระนองที่พบว่า พันธุ์ RRIM 600 มีโอกาสเป็นอาการเปลือกแห้งมากกว่าพันธุ์ BPM 24 ในขณะที่พื้นที่จังหวัดพังงา ยางพันธุ์ BPM 24 มีโอกาสเป็นอาการเปลือกแห้มากกว่าพันธุ์ RRIM 600 จากข้อมูลที่ได้ทั้งหมดนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาในลักษณะเชิงลึกเพื่อการจัดการต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   869_2551.pdf (ขนาด: 949.13 KB / ดาวน์โหลด: 410)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม