การทดสอบผลผลิตสบู่ดำ จังหวัดเพชรบูรณ์
#1
การทดสอบผลผลิตสบู่ดำ จังหวัดเพชรบูรณ์
อรรณพ กสิวิวัฒน์, อนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ, สมศักดิ์ ศรีสมบุญ, นันทวรรณ สโรบล และชำนาญ ฉัตรแก้ว

          การทดสอบพันธุ์สบู่ดำในแปลงใหญ่ นับว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ และผลผลิตรวมของสบู่ดำให้มีปริมาณเพียงพอต่อการผลิตเพื่อทดแทนพืชพลังงาน และช่วยลดต้นทุนการผลิตในภาพรวม ดังนั้น ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์จึงได้ทำการทดสอบและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำที่เหมาะสมในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ระหว่างปี 2548 - 2551 ผลการทดลองพบว่า การทดสอบพันธุ์สบู่ดำ พันธุ์ D1 และพันธุ์พื้นเมือง ให้ผลผลิตเฉลี่ยแตกต่างกัน โดยพันธุ์ D1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง ร้อยละ 33 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 100 และ 75 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ความสูงของต้นเฉลี่ยใกล้เคียงกัน 236 - 239 เซนติเมตร จำนวนกิ่ง/ต้น 16 - 19 กิ่ง ขนาดเมล็ด 100 เมล็ด พันธุ์ D1 เฉลี่ย 84 กรัม และพันธุ์พื้นเมือง 82 กรัม ผลการตัดแต่งกิ่งในฤดูฝนในเดือนมิถุนายน สภาพแปลงเสี่ยงต่อน้ำท่วมขังทำให้ผลผลิตลด และพบว่าการยืนต้นของสบู่ดำทนต่อสภาพน้ำขัง สามารถแตกรากแขนงฟื้นตัวไม่ตายแต่เก็บผลผลิตได้น้อย ผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่า ต้นทุนการผลิตอยู่ในเกณฑ์สูง 37 - 40 บาท/กิโลกรัม ดังนั้นการทดสอบและการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำเพื่อทดแทนพืชพลังงานยังมีความจำเป็นในอนาคต


ไฟล์แนบ
.pdf   1091_2551.pdf (ขนาด: 951.59 KB / ดาวน์โหลด: 1,049)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม