06-30-2016, 01:35 PM
การเปรียบเทียบในท้องถิ่น: โคลนอ้อยชุด 2538 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วีระพล พลรักดี, สุชาติ คำอ่อน, สมสิทธิ์ จันทรักษ์, ปรีชา แสงโสดา, เบญจมาศ คำสืบ, วสันต์ วรรณจักร์ และบุญอุ้ม แคล้วโยธา
วีระพล พลรักดี, สุชาติ คำอ่อน, สมสิทธิ์ จันทรักษ์, ปรีชา แสงโสดา, เบญจมาศ คำสืบ, วสันต์ วรรณจักร์ และบุญอุ้ม แคล้วโยธา
นำโคลนอ้อยชุด 2538 ที่ผ่านการประเมินผลผลิตในขั้นการเปรียบเทียบมาตรฐานจำนวน 10 โคลน มาประเมินผลผลิตในขั้นการเปรียบเทียบในท้องถิ่น วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 12 พันธุ์/โคลน ใช้พันธุ์ขอนแก่น80 และ เค 88-92 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ทำการทดลองจำนวน 7 แปลง คือ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตมหาสารคาม ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตร้อยเอ็ด ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเลย ศูนย์วิจัยพืชไร่กาฬสินธุ์ และศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตมุกดาหาร ศึกษาผลผลิตในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 จากผลการทดลองได้คัดเลือกอ้อยไว้ 2 โคลน คือ 95-2-202 และ 95-2-317 เพื่อนำไปประเมินผลผลิตในขั้นการเปรียบเทียบและทดสอบในไร่เกษตรกร ในอ้อยปลูกโคลน 95-2-202 และ 95-2-317 ให้ผลผลิตอ้อย 17.2 และ 20.8 ตันต่อไร่ มีค่าซีซีเอส 13.5 และ 13.3 ให้ผลผลิตน้ำตาลที่คำนวณได้ 2.51 และ 2.76 ตันซีซีเอสต่อไร่ และมีเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 2.75 และ 3.13 เซนติเมตร ตามลำดับ ในอ้อยตอ 1 โคลน 95-2-202 และ 95-2-317 ให้ผลผลิตอ้อย 15.3 และ 14.3 ตันต่อไร่ มีค่าซีซีเอส 13.4 และ 12.3 ให้ผลผลิตน้ำตาลที่คำนวณได้ 1.97 และ 1.71 ตันซีซีเอสต่อไร่ และมีเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 3.0 และ 3.11 เซนติเมตร ตามลำดับ