การถ่ายยีนเข้าสู่เบญจมาศเพื่อยืดอายุการปักแจกันและต้านทานแมลง
#1
การถ่ายยีนเข้าสู่เบญจมาศเพื่อยืดอายุการปักแจกันและต้านทานแมลง
กษิดิศ ดิษฐบรรจง, ชยานิจ ดิษฐบรรจง, หทัยรัตน์ อุไรรงค์ และเบ็ญจมาศ ทรงพระ

          เบญจมาศไม้ตัดดอกที่มีมูลค่าการผลิตอันดับ 1 ใน 4 ของไม้ตัดดอกทั่วโลก แต่ในประเทศไทยคุณภาพดอกเบญจมาศที่ผลิตได้ต่ำกว่าของต่างประเทศ เนื่องจากมีปัญหาโรคแมลงและอายุการปักแจกันสั้น การถ่ายยีน chitinase และ antisense–ethylene responsive sensor (ERS) สามารถช่วยพัฒนาพันธุ์ได้ ทำการศึกษาระบบการขยายพันธุ์ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการถ่ายยีน โดยนำส่วนข้อและฐานรองดอกของเบญจมาศชนิดดอกเดี่ยว (standard type) เลี้ยงในอาหาร Murashige and Skoog (1962) หรือ MS (1962) ที่เติมสารกระตุ้นการเจริญเติบโตพืช 6-benzylamino purine (BA) และ 2, 4-D ความเข้มข้นระดับ 5, 10 และ 15 μM เพื่อชักนำให้เกิดแคลลัสพบว่า ในทุกชิ้นส่วน BA และ 2, 4-D สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ แต่ BA ที่ระดับความเข้มข้น 3 - 5 μM สามารถชักนำให้เกิดแคลลัส ซึ่งมีลักษณะเป็น callus clump เกาะกันหลวมเป็นก้อนสีเขียวเข้มภายในเวลา 1 เดือน แคลลัสพัฒนาเป็นยอดได้ในอาหาร MS (1962) ที่เติม BA ระดับ 15 - 20 μM จากนั้นศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการถ่ายยีนพบว่า A. tumefaciens สายพันธุ์ EHA 105 (pCAMBIA 1301) ระยะเวลาการเลี้ยงชิ้นส่วนพืชร่วมกับเชื้อนาน 3 วัน มีประสิทธิภาพสูงสุดในการถ่ายยีนเข้าสู่แคลลัสเบญจมาศต่อจากนั้นทำการถ่ายยีน antisense–ERS และยีน chitinase เข้าสู่แคลลัสเบญจมาศ โดยใส่ plasmid ซึ่งมียีนดังกล่าวเข้าสู่เซลล์ Agrobacterium ด้วยวิธี freeze–thaw method หรือ electroporation จากนั้นทำการถ่ายยีนทั้ง 2 ชนิดเข้าสู่แคลลัสของเบญจมาศ คัดเลือกแคลลัสที่ได้รับการถ่ายยีนด้วย kanamycin หรือ hygrmycin ความเข้มข้น 75 หรือ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และชักนำให้เกิดยอด ตรวจการปรากฏของยีนโดยใช้วิธี PCR ใช้ primer 35S และ NOS 1 ได้ ต้นเบญจมาศดัดแปลงพันธุกรรมที่มียีน antisence–ERS และยีน chitinase


ไฟล์แนบ
.pdf   982_2551.pdf (ขนาด: 1.77 MB / ดาวน์โหลด: 586)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม