การสร้าง regeneration system เพื่อการถ่ายยีนในมันสำปะหลัง
#1
การสร้าง regeneration system เพื่อการถ่ายยีนในมันสำปะหลัง
ชยานิจ ดิษฐบรรจง และกษิดิศ ดิษฐบรรจง
กรมวิชาการเกษตร

          จากการศึกษาระบบ regeneration system เพื่อการถ่ายยีนในมันสำปะหลังพบว่า ชิ้นส่วนใบอ่อน และส่วนข้อของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ เมื่อเลี้ยงบนอาหาร MS ที่เติม 2,4-D และ picloram อัตรา 20-40 μM แต่แคลลัสที่เกิดขึ้นไม่สามารถชักนำให้เกิดยอดได้ และเมื่อศึกษาขบวนการเกิด somatic embryo พบว่าชิ้นส่วนของ apical meristem และ lateral bud สามารถชักนำให้เกิด somatic embryo ได้โดย ชิ้นส่วน apical meristem มีอัตราการเกิด somatic embryo สูงสุด 31% บนอาหาร MS ที่เติม 2,4-D 30 μM ในขณะที่ชิ้นส่วน lateral bud เกิด somatic embryo ได้น้อยสุด 8% บนอาหารที่เติม picloram 20 μM somatic embryo ที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นก้อนกลม สีขาวขุ่น มีขนาดเล็กมาก อยู่ปะปนกับแคลลัสต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเมื่อแยก somatic embryo ออกมาจากแคลลัส นำมาเลี้ยงบนอาหาร MS ที่เติม BA 0.5 μM สามารถพัฒนาเป็นใบเลี้ยงและต้นอ่อนได้ ดังนั้นจึงสามารถใช้การเกิด somatic embryo เพื่อการถ่ายยีนเข้าสู่มันสำปะหลัง
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม