ความต้านทานต่อสารฆ่าไรบางชนิดของไรแดงแอฟริกันในสวนส้ม
#1
ความต้านทานต่อสารฆ่าไรบางชนิดของไรแดงแอฟริกัน (African Red Mite); Eutetranychus africanus (Tucker) ในสวนส้ม
อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล, มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และวิมลวรรณ โชติวงศ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ตรวจสอบความต้านทานของไรแดงแอฟริกัน African Red Mite, Eutetranychus africanus (Tucker) ที่รวบรวมจากแหล่งปลูกส้มเขียวหวาน ภาคเหนือจาก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ภาคกลางจาก เขตทุ่งครุ จ.กรุงเทพฯ และภาคใต้จาก อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 3 สายพันธุ์ ในห้องปฏิบัติการ โดยวิธีจุ่มใบ (leaf-dip bioassay technique) พบว่า ประชากรจากสายพันธุ์พรานกระต่าย ฝาง และบ้านนาสาร มีความต้านทานอยู่ในระดับปกติต่อสาร propargite และ fenbutatin oxide (มีค่าอัตราความต้านทานระหว่าง 0.02 - 2.95 และ 0.31 – 2.56 เท่าของสายพันธุ์อ่อนแอ ตามลำดับ) สายพันธุ์พรานกระต่าย ฝาง มีความต้านทานอยู่ในระดับต้านทานต่อสาร amitraz และ pyridaben (มีค่าอัตราความต้านทานระหว่าง 18.35 – 83.99 และ 12.14 – 19.13 เท่าของสายพันธุ์อ่อนแอ ตามลำดับ) สายพันธุ์บ้านนาสาร มีความต้านทานอยู่ในระดับปกติต่อสาร amitraz และ pyridaben (มีค่าอัตราความต้านทานระหว่าง 2.56 และ 0.29 เท่าของสายพันธุ์อ่อนแอ ตามลำดับ) การตรวจสอบการพัฒนาความต้านทานของไรแดงแอฟริกันพบว่า ประชากรจากสายพันธุ์ฝาง มีความต้านทานต่อสาร propargite, amitraz, pyridaben และ fenbutatin oxide ในรุ่น (ครั้ง) ที่ 1 และความต้านทานลดลง ในรุ่น (ครั้ง) ที่ 2 จึงควรทำการทดลองเพื่อหาข้อสรุปต่อไป
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม