การวิเคราะห์และพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อประเมินศักยภาพการผลิตมะม่วง
#1
การวิเคราะห์และพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อประเมินศักยภาพการผลิตมะม่วง
เกษมศักดิ์ ผลากร, สุภาภรณ์ สาชาติ, วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ, จิดาภา สุภาผล, อิสิวัฒน์ บัณฑราภิวัฒน์ และสมโภช เภรี
สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์สารสนเทศ 

          การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยการผลิตมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา นครราชสีมา และปราจีนบุรี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 โดยรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิของมะม่วงพันธุ์การค้าและปัจจัยการผลิต (พื้นที่ปลูก ราคาขาย ราคาปุ๋ยขายปลีก ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ) เพื่อหาผลตอบสนองตามสมการศักยภาพผลผลิตและสมการผลผลิตต่อไร่ ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบวิธีผลต่างกำลังสองน้อยที่สุดสองชั้น (TLS) พบว่า ปัจจัยด้านพื้นที่ปลูกในปีก่อน ราคาที่เกษตรกรขายได้ปีที่แล้ว ปริมาณน้ำฝนไม่แสดงความสัมพันธ์ที่อธิบายสมการในระดับประเทศ ส่วนปัจจัยด้านปุ๋ยขายปลีก และอุณหภูมิสามารถตอบสนองสมการศักยภาพผลผลิตและสมการผลผลิตต่อไร่ อย่างมีนัยสำคัญด้วย R-square 0.80 และ 0.43 ตามลำดับ และจากการประมาณสมการพื้นที่ปลูก ผลผลิตต่อไร่ การตอบสนองผลผลิตจริงของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย และพันธุ์น้ำดอกไม้ พบว่า มะม่วงพันธุ์เขียวเสวยในจังหวัดฉะเชิงเทรามีความสัมพันธ์จากค่า R2 ของสมการพื้นที่ปลูก เท่ากับ 0.3 สมการผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 0.65 สมการตอบสนองผลผลิตจริงเท่ากับ 0.92 ในจังหวัดนครราชสีมามีความสัมพันธ์จากค่า R2 ของสมการพื้นที่ปลูก เท่ากับ 0.72 สมการผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 0.57 สมการตอบสนองผลผลิตจริงเท่ากับ 0.73 ในจังหวัดปราจีนบุรี มีความสัมพันธ์จากค่า R2 ของสมการพื้นที่ปลูก เท่ากับ 0.64 สมการผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 0.32  สมการตอบสนองผลผลิตจริงเท่ากับ 0.93 และมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ ในจังหวัดฉะเชิงเทรามีความสัมพันธ์จากค่า R2 ของสมการพื้นที่ปลูกเท่ากับ 0.94 สมการผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 0.63 สมการตอบสนองผลผลิตจริง เท่ากับ 0.88 ในจังหวัดนครราชสีมามีความสัมพันธ์จากค่า R2 ของสมการพื้นที่ปลูก เท่ากับ 0.74 สมการผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 0.54 สมการตอบสนองผลผลิตจริง เท่ากับ 0.91 ในจังหวัดปราจีนบุรี มีความสัมพันธ์จากค่า R2 ของสมการพื้นที่ปลูกเท่ากับ 0.87 สมการผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 0.78 สมการตอบสนองผลผลิตจริงเท่ากับ 0.91 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจสัมภาษณ์สวนของเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา นครราชสีมา และปราจีนบุรี พบเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75  มีพื้นที่ปลูก


ไฟล์แนบ
.pdf   1_2554.pdf (ขนาด: 642.41 KB / ดาวน์โหลด: 2,855)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม