การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ชนิดผง Bacillus subtilis สายพันธุ์ 4415 และดินอ้อย no 6
#1
การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ชนิดผง Bacillus subtilis สายพันธุ์ 4415 และสายพันธุ์ดินอ้อย no 6 เพื่อควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมา
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ดารุณี ปุญญพิทักษ์, ทิพวรรณ กันหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง, วิภาดา ทองทักษิณ และสุธามาศ ณ น่าน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน

          การเตรียมผลิตภัณฑ์ชนิดผง Bacillus subtilis สายพันธุ์ 4415 และ อ้อย no.6 โดยการเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ 4415 และ อ้อย no.6 เพื่อเพิ่มปริมาณดำเนินการเลี้ยงในอาหารเหลว NGB และอาหารแข็ง NGA นำแบคทีเรียที่เพิ่มปริมาณได้ไปทำเป็นผงเชื้อโดยใช้ผงทาคัมเป็นวัสดุรองรับ ผลิตผงเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ 4415 และอ้อย no.6 จำนวน 2 กิโลกรัม ทดสอบอายุของการเก็บรักษาผงเชื้อ นำมาตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ 4415 และอ้อย no.6 ในผงเชื้อทุกเดือนเพื่อเช็คความอยู่รอดและปริมาณ พบว่า ทดสอบอายุของการเก็บรักษาผงเชื้อเป็นเวลา 15 เดือน พบว่า ผงเชื้อมีอายุการเก็บรักษาที่ยังคงมีปริมาณแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ 4415 และอ้อย no.6 ในผงเชื้อพบว่า มีปริมาณ 1X10(10) cfu/g ที่ 12 เดือน หลังจากนั้นปริมาณแบคทีเรีย B. subtilis จะลดลงโดยที่เก็บรักษาไว้ 15 เดือน มีปริมาณแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ 4415 และอ้อย no.6 ที่ 6.4 x 10(6) cfu/g และนำผงเชื้อไปทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมาในเรือนปลูกพืชทดลองพบว่า ราดด้วยผงเชื้อในอัตรา 1.5 กรัม/น้ำ 5 ลิตร รดทุก 7 วันให้ผลดีที่สุดด้วยสามารถควบคุมโรคได้ 60% จากนั้นนำผงเชื้อไปทดสอบในสภาพแปลงทดลองที่ อำเภอหนองตากยา จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ผงเชื้อในอัตรา 1.5 กรัม/น้ำ 5 ลิตร รดทุก 7 และ 15 วัน ให้ผลดีที่สุด ด้วยสามารถควบคุมโรคได้ตั้งแต่ 63 - 65 %


ไฟล์แนบ
.pdf   33_2556.pdf (ขนาด: 494.34 KB / ดาวน์โหลด: 2,632)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม