01-08-2016, 01:40 PM
การจัดการวัชพืชเพื่อการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ
คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย และทิพย์ดารุณี สิทธินาม
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย และทิพย์ดารุณี สิทธินาม
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
การจัดการวัชพืชเพื่อการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ประกอบด้วยการทดลองที่ 1 การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอก และ การทดลองที่ 2 การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังวัชพืชงอก ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือน ตุลาคม 2553 – กันยายน 2556 ผลการทดลองพบว่า สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกส่วนใหญ่ไม่เป็นพิษต่อถั่วเขียว ยกเว้นสาร acetochlor, oxyfluorfen และ flumioxazin เป็นพิษเล็กน้อย และสาร clomazone เป็นพิษปานกลาง และสารกำจัดวัชพืช pendimethalin, oxyfluorfen, oxadiazon และ imazapic สามารถควบคุมวัชพืชได้ทั้งประเภทใบแคบและประเภทใบกว้างได้ดี สาร pendimethalin, oxyfluorfen, sulfentrazone, oxadiazon, flumioxazin, imazapic, metribuzin และ alachlor ให้ผลผลิตมากกว่าและไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังวัชพืชงอกไม่เป็นพิษต่อถั่วเขียว ยกเว้น สาร imazapic และ imazathapyr ที่เป็นพิษต่อถั่วเขียวเล็กน้อยถึงปานกลาง และสารก้าจัดวัชพืช imazapic, imazathapyr, propaquisafop + fomesafen, fluazifop-P-butyl + fomesafen และ haloxyfop-p-methyl + fomesafen สามารถกำจัดวัชพืชได้ทั้งประเภทใบแคบและประเภทใบกว้างได้ดีที่สุด และให้ผลผลิตมากกว่าและไม่แตกต่างกันทางสถิติ