01-05-2016, 03:44 PM
การแก้ปัญหาไรดีดในพื้นที่เพาะเห็ดนางรมฮังการีภาคกลางของประเทศไทย
เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์, อัจฉรา พยัพพานนท์, มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ และพลอยชมพู กรวิภาสเรือง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์, อัจฉรา พยัพพานนท์, มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ และพลอยชมพู กรวิภาสเรือง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการสำรวจความเสียหายของก้อนเชื้อเห็ดนางรมฮังการีจากฟาร์มเห็ดในเขตภาคกลาง ในระยะบ่มเส้นใยที่เกิดจากการทำลายของไรดีด ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 - กันยายน 2551 พบความเสียหายของก้อนเชื้อเห็ดนางรมฮังการีเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน สิงหาคม และกันยายน เฉลี่ย 31.47, 57.14, 34.36, 25.00 และ 41.00% ตามลำดับ และระหว่างเดือนตุลาคม 2551-กันยายน 2552 พบความเสียหายของก้อนเชื้อเห็ดนางรมฮังการีเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนเฉลี่ย 100% และ 30% ส่วนการป้องกันกำจัดนั้น การรมขวดหัวเชื้อในกรณีที่มีการระบาดของไรดีดและพ่นด้วยสารฆ่าไรในช่วงบ่มเส้นใยนั้นเป็นการป้องกันกำจัดไรดีดที่ดี และควรปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาไรดีด