ทดสอบผลของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อแตนเบียนควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว
#1
ทดสอบผลของสารป้องกันกำจัดแมลงต่อแตนเบียนควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เพื่อทราบผลของสารป้องกันกำจัดแมลงที่ใช้ควบคุมแมลงศัตรูมะพร้าวต่อแตนเบียนควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว 2 ชนิด ได้แก่ แตนเบียนดักแด้ Tetrastichus brontispae Ferriere และแตนเบียนหนอน Asecodes hispinarum Boucek ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 11 กรรมวิธี มี 5 ซ้ำ ทำการทดสอบปล่อยแตนเบียนลงในหลอดพลาสติกชุบสารฯ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ 1, 7, 10, 14 และ 21 วัน หลังจากนั้นตรวจผลอัตราการตายของแตนเบียนที่ 24 และ 48 ชั่วโมง หลังจากเริ่มทดสอบพบว่า สาร thiamethoxam 25% WG (Actara 25 WG 25% WG), imidacloprid 70% WG (Provada 70% WG), carbaryl 85% WP (Sevin 85 WP 85% WP) และ chlorpyrifos 40% EC (Lorsban 40 EC 40% EC) เป็นพิษร้ายแรงต่อแตนเบียนทั้ง 2 ชนิด ส่วน Bt var. aizawai และ Bt var. tenebrionis ไม่เป็นพิษต่อแตนเบียนทั้ง 2 ชนิด และทำการทดสอบในสภาพไร่ วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 9 กรรมวิธี มี 4 ซ้ำ โดยพ่นสารบนต้นมะพร้าวแล้วตัดใบมะพร้าวมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ หลังจากพ่นสาร 1, 7, 14 และ 21 วัน ซึ่งให้ผลการทดสอบไปในทำนองเดียวกันในส่วนของสารเคมี และสำหรับชีวภัณฑ์ Bt var. aizawai, Bt var. tenebrionis, M. anisopliae และ S. carpocapsae มีความเป็นพิษน้อยถึงปานกลางหลังจากพ่นสาร 1 วัน และไม่เป็นพิษหลังพ่นสารไปแล้ว 7 วัน สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว ได้แก่ thiamethoxam 25% WG, imidacloprid 70% WG, carbaryl 85% WP และ chlorpyrifos 40% EC มีความเป็นพิษต่อแตนเบียนทั้ 2 ชนิด ที่นำมาใช้ควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว และมีพิาตกค้างนานมากกว่า 21 วัน จึงไม่ควรนำมาใช้ในแปลงมะพร้าวหากมีการปล่อยแตนเบียน


ไฟล์แนบ
.pdf   1603_2553.pdf (ขนาด: 104.41 KB / ดาวน์โหลด: 630)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม