12-04-2015, 11:22 AM
การเฝ้าระวังการเกิดและการแพร่กระจายของรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora สาเหตุโรคราน้ำค้างของข้าวโพด
พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ทัศนาพร ทัศคร, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ และอมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ทัศนาพร ทัศคร, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ และอมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของข้าวโพดและของเชื้อรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora จากเอกสารวิชาการและเวบไซด์ ได้สำรวจพื้นที่และวางแผนการเก็บข้อมูลโรคราน้ำค้างข้าวโพดในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2551 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย จ.ตาก จ.นครราชสีมา และจ.สระบุรี สุ่มเก็บตัวอย่างโรคราน้ำค้างข้าวโพดจำนวน 2 ครั้ง เมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ และเมื่อข้าวโพดที่อายุประมาณ 7 - 8 สัปดาห์ ที่อ.เมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 2 แปลง ที่อ.แม่ระมาด และอ.แม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 4 แปลง ที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน 3 แปลง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี จำนวน 1 แปลง ไม่พบเชื้อรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora สาเหตุโรคราน้ำค้างข้าวโพดในแปลงเก็บข้อมูล และปี พ.ศ. 2552 ได้สำรวจพื้นที่และวางแผนการเก็บข้อมูลโรคราน้ำค้างข้าวโพดซ้ำในพื้นที่เดิม ไม่พบเชื้อรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora สาเหตุโรคราน้ำค้างข้าวโพดในแปลงเก็บข้อมูล ในปี พ.ศ. 2553 ได้สำรวจพื้นที่และวางแผนการเก็บข้อมูลโรคราน้ำค้างข้าวโพดในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี จ.นครสวรรค์ จ.สระบุรี และจ.ลพบุรี เก็บตัวอย่างโรคราน้ำค้างข้าวโพด ที่อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ อ.เมือง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี จำนวน 4 แปลง แปลงปลูกข้าวโพด อ.เมือง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี และกิ่งอ.วังม่วง จ.สระบุรี จำนวน 16 แปลง ไม่พบเชื้อรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora สาเหตุโรคราน้ำค้างข้าวโพดในแปลงเก็บข้อมูล