วิจัยและพัฒนาพันธุ์ดาหลาโดยวิธีการผสมเกสรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
#1
วิจัยและพัฒนาพันธุ์ดาหลาโดยวิธีการผสมเกสรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ณัฐฏา ดีรักษา, ไพนุดิษฐ์ สืบสิงห์, สมนึก หอมนุ่น, ถมมะนา ไกยะฝ่าย, ทวี แจ่มจันทร์ และสุทธาชีพ ศุภเกสร
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา (ส่วนแยกธารโต) และศูนย์วิจัยพืชสวนเลย

          ในธรรมชาติดาหลาสามารถผสมเกสรได้โดยอาศัยนกกินปลีเป็นตัวช่วยในการผสมเกสรดาหลามีการขยายพันธุ์ที่นิยมด้วยการแยกหน่อ แต่การเพาะเมล็ดไม่เป็นที่นิยมเพราะเมล็ดหายาก พันธุ์ที่ได้ไม่ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ มีความหลากหลายของพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ด หาวิธีที่ช่วยในการผสมเกสรของดาหลาเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ดาหลาให้มีลักษณะตามที่ต้องการ จึงได้หาวิธีการผสมเกสรโดยเลียนแบบธรรมชาติในการช่วยผสมเกสรดอกดาหลา และได้คิดทำอุปกรณ์ที่ช่วยในการผสมเกสรดาหลาจากลวด ทำสองอันให้ปลายแบนมนและปลายเป็นรูปตัววี (V) เพื่อช่วยในการเขี่ยเกสรตัวผู้ออก และช่วยผสมเกสรดอกดาหลา เวลาที่เหมาะสมในการผสมเกสรดอกดาหลาช่วงเช้าเวลา 05.00 น. ถึง 09.00 น. คัดเลือกพันธุ์ดาหลาที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ จากสายพันธุ์ที่ได้ทำการรวบรวมไว้ และคัดเลือกได้ 5 สายพันธุ์ คือ ดอกสีแดง, ดอกสีชมพู, ดอกสีขาว, ดอกสีแดงคล้ายดอกบัว และดอกสีแดงคล้ายดอกกุหลาบ พบว่าลูกผสมรุ่นที่ 1 มีลักษณะดอกเหมือนดอกดาหลาทั่วไปแต่ความนูนตรงกลางดอกลดลง มีคู่ผสมที่เกิดจากดอกคล้ายดอกบัวกับดอกคล้ายดอกกุหลาบคู่เดียวที่ลักษณะดอกเป็นดอกคล้ายดอกบัวตรงกลางดอกไม่นูน ลูกผสมรุ่นที่ 2 มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากคู่ผสมอื่นๆ มี 1 ต้น ลักษณะรูปร่างดอกคล้ายถ้วยแก้ว กลีบประดับชั้นนอกสีแดงเข้ม ชั้นในสีชมพูเข้ม ตรงกลางดอกไม่นูนขึ้นมา มีการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิต 60-70 ดอก/กอ/ปี แต่ออกดอกปีละครั้ง ส่วนลูกผสมคู่อื่นๆ มีการเจริญเติบโตดีให้ผลผลิต 60-80 ดอก/กอ/ปี ออกดอกตลอดปี
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม