11-30-2015, 03:04 PM
ทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนและหลังการงอกของวัชพืชเพื่อกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้างในแปลงทดสอบ (ทานตะวัน)
จรัญญา ปิ่นสุภา, คมสัน นครศรี และนงลักษ์ ปั้นลาย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
จรัญญา ปิ่นสุภา, คมสัน นครศรี และนงลักษ์ ปั้นลาย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
ศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก และหลังงอกของวัชพืช เพื่อควบคุมวัชพืชในทานตะวัน แปลงทดลอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดลพบุรี ระหว่างเดือนเมษายน - ตุลาคม พ.ศ. 2555 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 17 กรรมวิธี คือ การใช้สาร pendimethalin, butachlor, propisochlor, metolachlor, acetochlor, oxyfluorfen, oxadiazon, clomazone, flumioxazin, fluazifop-butyl, quizalofop-p-tefuryl, fenoxaprop-p-ethyl, clethoxydim, imazethapyr และ imzaquin อัตรา 330, 240, 108, 300, 300, 24, 150, 60, 320, 30, 20, 20, 45, 10 และ 10 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกรรมวิธี การใช้แรงงานและไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชพบว่า สาร oxyfluorfen, oxadiazon, clomazone, quizalofop-p-tefuryl, imazethapyr และ imzaquin เป็นพิษต่อทานตะวัน ส่วนประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช metolachlor, acetochlor, oxadiazon, oxyfluorfen และ fenoxaprop-p-ethyl สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีจนถึงระยะ 45 วันหลังพ่นสาร และให้ผลผลิตไม่แตกต่างกับกรรมวิธีใช้แรงงาน